Page 29 - 001
P. 29
18
การพบว่ามีการผลิตและใช้ทองแดงหรือสำริดแล้ว ดังเช่น แหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมอหรร
(ahar) ที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำพานาสที่พบหลักฐานการถลุงแร่ แต่เครื่องมือเครื่องใช้ส่วนใหญ่
ยังคงทำมาจากหิน โดยเฉพาะเครื่องมือหินขนาดเล็กและเครื่องมือหินแบบใบมีด (stone
blades) ที่ยังคงครองความสำคัญในชุมชนมากกว่าเครื่องมือที่ผลิตจากทองแดง ทั้งนี้ เพราะ
ทองแดงยังเป็นโลหะที่หายากอยู่ในยุคนี้นั่นเอง
สมัยทองแดงถือว่ายังคงเป็นสังคมชนบทที่ตั้งเป็นหมู่บ้านเล็กๆกระจายตัวไปตามริมฝั่ง
แม่น้ำต่างๆ การประกอบอาชีพที่สำคัญคือ การทำเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ พืชที่ปลูกไม่ได้
ื้
่
ี
มีเพยงข้าวหรือข้าวสาลี แต่ในบางพนที่ยังปลูกข้าวฟาง (pearl millet) หรือที่เรียกว่า bajra
และธัญพชประเภทถั่วอีกด้วย สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย แพะ แกะ หมู ม้า สุนัข ซึ่งส่วนใหญ่
ื
ถูกนำไปใช้ในการเกษตรและทำเป็นอาหาร ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงสัตว์แล้ว ชาวอินเดียสมัย
ทองแดงยังคงล่าสัตว์และจับสัตว์น้ำ ดังที่ได้พบเครื่องมือประเภทเบ็ดตกปลาตามแหล่ง
โบราณคดี
ที่อยู่อาศัยของคนในยุคนี้จะก่อสร้างด้วยอิฐดิบหรือไม้ขัดแตะฉาบโคลน มีทั้งที่เป็นทรง
กลม ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในบ้านอาจแบ่งเป็นหลายห้องหรือมีห้องเดียวก็
ได้ บางครั้งพบว่าพนที่ส่วนที่เป็นครัวจะมีเตาไฟรูปตัวยูที่เรียกว่า “chulhas” ปรากฏอยู่ด้วย
ื้
นอกจากนี้ การตั้งบ้านเรือนยังมีการแยกกันตามสถานะและอาชีพ ดังเช่นที่แหล่งโบราณคดี
อินามโกน (inamgaon) พบว่าผู้นำชุมชนหรือเกษตรกรจะอาศัยอยู่บริเวณกลางเมือง ในขณะที่
ช่างฝีมือจะอยู่กันในแถบรอบนอกทางตะวันตกของเมือง
8
ภาพที่ 8 ตัวอย่างเตาดิน“Chulhas” รูปตัวยู
ที่มา : https://www.flickr.com/ / [Online], accessed 10 September 2018
8 Anwita Dutta. (2006). A Critical Review of the Economy of the Chalcolithic People of Inamgaon.
Ancient Asia vol.1, p. 127.