Page 25 - 001
P. 25

14


                                                                               ื้
                   หลัก แต่ก็พบว่ามีการใช้บะซอลท์และแกรไนต์ (granite)บ้าง ส่วนพนที่อื่นๆในประเทศอินเดีย
                   มักจะนิยมหินควอร์ตไซต์ (quartzite) มากกว่าหินประเภทอื่นๆ


































                                      ภาพที่ 6 ภาพลายเส้นเครื่องมือหินแบบอะเชอลียน

                   ที่มา : https://upload.wikimedia.org/ [Online], accessed 10 September 2018.

                          ต่อมา ในสมัยหินเก่าตอนกลางได้เกิดเครื่องมือหินรูปแบบใหม่ขึ้นมาโดยเครื่องมือหิน

                   สมัยนี้ส่วนใหญ่จะใช้ส่วนที่เป็นสะเก็ดหินมาทำเป็นเครื่องมือด้วยการตกแต่งขอบคม ดังนั้น มัน
                   จึงได้เครื่องมือที่ออกมาในลักษณะที่มีปลายแหลม เช่น เครื่องขูดปลายแหลม (end scrapers)

                                          ั
                   เครื่องมือเป็นรอยหยักซี่ฟนถี่ (denticulates) หัวลูกศร (points) และหัวสว่าน (borers) เป็น
                   ต้น มีข้อที่น่าสังเกตว่าเครื่องมือหินสมัยนี้มีขนาดเล็ก บางและน้ำหนักเบากว่ายุคที่แล้ว
                          การแสดงออกทางด้านความเชื่อและพธีกรรมพบเห็นอย่างชัดเจนในช่วงสมัยหินเก่า
                                                             ิ
                   ตอนปลาย จากแหล่งโบราณคดีพาฆอร์ 1 (Baghor I) ในรัฐมัธยประเทศ พบหลักฐานที่
                   สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแท่นบูชา (shrine) ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยแท่นบูชาดังกล่าวเป็นแท่นที่

                   ทำขึ้นจากเศษหินทรายอย่างหยาบๆเป็นรูปทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 85 เซนติเมตร
                   ตรงกลางมีหินแผ่นบางๆวางซ้อนกันเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดความสูงราว 15 เซนติเมตร
                   กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 6.5 เซนติเมตร แท่นดังกล่าวนี้ได้รับการสันนิษฐานว่าทำขึ้นมาเพื่อ

                   ใช้เป็นที่บูชาเทพมารดร  (mother – goddess)
                                        4



                          4  V. Jayaswal. (2003). South Asian Upper Paleolithic. Encyclopedia of Prehistory: Volume 8: South and
                   Southwest Asia. USA: Springer Science & Business Media, p. 340.
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30