Page 24 - 001
P. 24

13




























                                            ภาพที่ 5 เครื่องมือหินในวัฒนธรรมโซนฮาเนี่ยน

                   ที่มา : https://www.flickr.com/ [Online], accessed 10 September 2018.

                                                                          2
                             1.2 เครื่องมือหินในกลุ่มวัฒนธรรมอะเชอเลียน  (Acheulean culture) พบ
                   เครื่องมือหินกลุ่มนี้ในประเทศอินเดียเป็นครั้งแรกที่เมืองเจนไน ในรัฐทมิฬ นาดู (Tamil Nadu)
                   ชื่อเมืองเจนไนแต่เดิมคือ มัทราส (Madras) ดังนั้น จึงมักเรียกกลุ่มเครื่องมือหินที่มีการกะเทาะ
                   แบบอะเชอลียนในประเทศอินเดียว่า มัทราเชี่ยน (Madrasian)

                          เครื่องมือหินแบบอะเชอเลียนหรือมัทราเชี่ยนนี้ประกอบไปด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย
                   ประเภทได้แก่ เครื่องมือขูดสับ (choppers) เครื่องมือสับตัด (chopping tools) ขวานกำปั้น

                   (Handaxe) –ขวานสับ (cleavers) เครื่องขูด (scrapers) เครื่องมือที่เป็นรอยหยักซี่ฟนถี่
                                                                                                   ั
                   (denticulates) และใบมีด (blades) เทคนิคการทำเครื่องมือหินในวัฒนธรรมนี้จะใช้วิธีการ
                   กะเทาะหินโดยทางตรง แต่จะใช้เขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์ทำหน้าที่เป็นฆ้อนทุบ ซึ่งวัตถุพวกนี้จะ

                   มีความเหนียวและนุ่ม รอยกะเทาะที่ปรากฏบนเครื่องมือหินจะตื้น ไม่ลึกเหมือนใช้หินเป็นฆ้อน
                   เป็นรอยบางๆจางๆ สันด้านข้างของเครื่องมือจะอ่อนไม่คดโค้งมาก ในระยะหลังๆเส้นด้านข้างนี้

                   เกือบเป็นเส้นตรง
                                  3
                          ส่วนวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำเครื่องมือก็แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละ
                   ภูมิภาค เป็นต้นว่า ทางตะวันตกของมหาราษฎร์ จะใช้หินบะซอลท์ (basalt) หรือโดเลอไรต์

                   (dolerite) เท่านั้น ในหุบเขาฮุนสคิ (Hunsgi Valley) จะใช้หินปูน (limestone) เป็นวัตถุดิบ



                          2  อะเชอลียน (Acheulean) เป็นวัฒนธรรมการทำเครื่องมือหินในช่วงยุคหินตอนต้น(Lower Palaeolithic) และยุคหิน
                   ตอนกลาง (Middle Palaeolithic)  พบในพื้นที่แอฟริกา และพบมากในเอเชียตะวันตก เอเชียใต้ และยุโรป มีลักษณะเด่นคอการ
                                                                                                  ื
                                                ู
                   กะเทาะหินทั้งสองด้าน มักทำเครื่องมือหินในรปของขวานกำปั้น (handaxe) และขวานสับ (Cleaver) เครื่องมือหินแบบอะเชอลียนที่มี
                   อายุเก่าแก่ที่สุดพบอยู่ที่เตอร์กานาตะวันตก (West Turkana) ในประเทศเคนยา (Kenya) กำหนดอายุโดยวิธีการลำดับชั้น
                   สนามแม่เหล็ก (magnetostratigraphy) ได้ว่าอยู่ในราว 1.76 ล้านปีมาแล้ว โฮโมอิเร็คตัส (Homo erectus) เป็นผู้ใช้เครื่องมือหินชนิด
                   นี้
                          3  พัชรี สาริกบุตร. (2523). เทคโนโลยีสมัยโบราณ. ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้า 39.
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29