Page 280 - 001
P. 280

269


                   จิตรกรรมสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ/วัฒนธรรมฮารัปปา
                          อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมเมืองบริเวณภาคตะวันตกเฉียง

                   เหนือของอินเดีย เจริญขึ้นในราว 5,000 – 3,000 ปีมาแล้ว ดังนั้น งานจิตรกรรมที่พบจึง
                   สร้างสรรค์อยู่ในรูปของภาชนะดินเผา โดยสามารถแบ่งตามความเจริญของอารยธรรมได้ดังนี้

                          1.  ระยะที่ 1 ประมาณ 5,200 – 4,600 ปีมาแล้ว นิยมเขียนสีลงบนผิวภาชนะดินเผา
                   ลวดลายส่วนใหญ่เขียนด้วยสีดำหรือสีแดงแต่ก็พบสีอื่นๆบ้างเช่น สีน้ำตาล สีขาวสีเหลือง สีฟา
                                                                                                     ้
                   และสีเขียว ลวดลายเรขาคณิตเป็นที่นิยมมากที่สุด กระนั้น ลวดลายอื่นๆก็มีปรากฏด้วย

                   เช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า ลายรูปสัตว์ผสมผสานกับลายพันธุ์พฤกษา รูปสัตว์ที่นิยมวาด ได้แก่ วัวมี
                                                                                                     2
                                                                                ี
                   โหนก ละมั่ง ปลา สุนัขและนก ในขณะที่ลายพนธุ์พฤกษาวาดอยู่เพยงลายเดียวคือ ใบโพธิ์
                                                              ั
                   (pipal leaf)
                          2.  มักจะทาผิวภาชนะด้วยน้ำดินข้นสีแดง พร้อมทั้งตกแต่งด้วยการวาดลวดลายด้วยสี
                   ดำบนพนภาชนะ แม้ว่าบางครั้งจะพบว่ามีการใช้สีหลายสีแต่หาได้ยากและมีจำนวนน้อยมาก
                          ื้
                   ส่วนลวดลายที่วาดมักจะเป็นลายเรขาคณิต สัตว์และพนธุ์พฤกษา โดยเฉพาะรูปเกล็ดปลา ใบ
                                                                    ั
                   โพธิ์ และรูปวงกลมสองวงตัดกัน (intersecting circles) ซึ่งเป็นลวดลายที่มีมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม

                   ของวัฒนธรรมฮารัปปา ในขณะที่รูปมนุษย์มักไม่ค่อยพบหรือวาดค่อนข้างหยาบ
                          3.  กลุ่มภาชนะดินเผาที่พบในระดับดินชั้นบนสุดของสุสานที่เมืองฮารัปปา ซึ่งเรียกกัน
                   ว่า “สุสาน H” (Cemetery H) และเนิน AB (Mound AB) เป็นตัวแทนของโบราณวัตถุใน

                   วัฒนธรรมฮารัปปาในยุคสุดท้าย โดยภาชนะดินเผาในระยะนี้จะมีการผสมผสานระหว่างรูปแบบ
                   เก่าและรูปแบบใหม่ เช่น ลวดลายที่วาดลงบนภาชนะที่ยังคงปรากฏรูปสัตว์และต้นไม้ เช่น

                   นกยูง ใบโพธิ์ แต่ได้เพมเติมลวดลายใหม่ๆขึ้นมา เช่น รูปดาว วงแหวนจุดไข่ปลา และเส้นคลื่น
                                       ิ่
                         3
                   เป็นต้น


                   จิตรกรรมสมัยอินเดียโบราณ (ราชวงศ์โมริยะ)
                          งานจิตรกรรมที่เก่าที่สุดที่รู้จักกัน คือ จิตรกรรมบนเพดานถ้ำโยคิมาร (Yogimara) ใน

                   ทิวเขารามคฤหะ (Ramgarh) ทางทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย เป็นภาพเขียนง่ายๆ
                   ค่อนข้างหยาบ จิตรกรรมฝาผนังอีกแห่งหนึ่งซึ่งค้นพบบนผนังถ้ำด้านซ้ายของถ้ำที่ 10
                   ณ อชันตา แสดงภาพชาดกในศาสนาพทธ คือ ฉันทันตชาดก (Saddanta Jataka) หรือประวัติ
                                                     ุ
                   ของพระยาช้าง 6 งา ซึ่งแสดงความเชี่ยวชาญของฝีมือเกี่ยวกับรูปร่างของช้างและความ
                                             4
                   ละเอียดอ่อนของพันธุ์พฤกษา





                          2  J.G. Shaffer and B.K. Thapar. (1999). Pre-Indus and Early Indus Cultures of Pakistan and India. History of
                   Civilizations of Central Asia. Delhi: Shri Jainendra Press, pp. 239-240.
                          3  Ahmed Mukhtar. (2014). Ancient Pakistan – An Archaeological History: Volume V: The End of the
                   Harappans Civilization, and the Aftermath. Foursome Group, p. 102.
                          4  สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะอินเดีย, หน้า 50-51.
   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285