Page 282 - 001
P. 282

271


                   robusta) แล้วจึงขัดด้วยขี้เขม่าดำแล้วราดซ้ำด้วยน้ำนม ด้วยวิธีการนี้ตามตำรากล่าวรับรองไว้ว่า
                                                                     8
                   ผนังจะไม่เสื่อมโทรมลงไปแม้เวลาจะผ่านไปแล้วเป็นร้อยปี
                          ในการลงสีนั้น ช่างอินเดียคงจะใช้ภาพที่ร่างไว้ก่อนแล้วบนกระดาษ เมื่อพนผนังยังคง
                                                                                            ื้
                   ชื้นอยู่ ก็ลงสีก่อนที่จะลง “พนล่าง” โดยในตำราวิษณุธรรโมตระ ก็แนะนำให้ใช้สีขาวหรือเขียว
                                            ื้
                   หลายเงา ต่อจากนั้นจึงใช้สีขั้นสุดท้ายและเติมรายละเอียดเอาทีหลังเมื่อสีแห้งแล้ว (a secco)
                   หรือยังเปียกอยู่ (a tempera) สีเหล่านี้ทำจากแร่ธาตุและพันธุ์พฤกษาและซึมเข้าไปในน้ำยาแต่
                     ี
                   เพยงเล็กน้อย ที่ติดอยู่ได้ก็เนื่องจากแร่ปูน (gypsum) เมื่อขึ้นมากระทบกับธาตุออกซิเจนใน
                   อากาศก็แข็งตัวจนกลายเป็นเกล็ดใส สีที่ช่างอินเดียใช้ย่อมแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น สีที่ใช้ใน
                   ถ้ำอชันตามีมากหลายสี มีสีน้ำตาลหลายเงา สีเขียวและสีน้ำเงินหลายเงา ตำราจิตรกรรมฝาผนัง

                   ของอินเดียเองก็แตกต่างกันในเรื่อง “สีหลัก” และ “สีประกอบ” โดยสีที่กล่าวถึงกันเสมอก็คือ
                   สีขาว สีเห ลือง สีดำ สีน้ำเงิน  และสีเขียว ซึ่งตำราอภิ ลษิ ตารถจินตมาณิ
                   (Abhilashitarthacintamani) กล่าวว่าได้มาจากกรดกำมะถัน ตำราวิษณุธรรโมตระก็ได้

                   กล่าวถึงสีต่างๆที่แตกต่างกันไว้อย่างมากมาย และให้บัญชีสิ่งที่ใช้ทำสีได้เป็นต้นว่า ทอง เงิน
                   ทองแดง แร่ไมก้า ตะกั่ว ดีบุก ครามและแร่เหล็กต่างๆ ซึ่งการเตรียมค่อนข้างยุ่งยากมาก

                                                            9
                   สำหรับพู่กันระบายสีนั้นคงใยของพืชที่ละเอียด  จิตรกรรมในถ้ำอชันตาถือเป็นตัวอย่างอันดีของ
                   จิตรกรรมในสมัยคุปตะและหลังคุปตะที่แสดงถึงเทคนิคที่ก้าวหน้าไปอย่างมาก


























                          8  Manager Singh and Balasaheb Ramrao Arbad. (2014). Ancient Indian Painting Recipes and Mural Art
                   Technique at Ajanta. International Journal of Conservation Science, 5 (1), p. 40.
                          9  สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะอินเดีย, หน้า 147.
   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287