Page 260 - 001
P. 260
249
• อภัยมุทรา (ประทานอภัย) ความหมายของมุทรานี้ คือ “ขอจงไม่มีภัย” แสดง
การคุ้มครองที่ผู้ศรัทธาจะได้รับเมื่อเคารพบูชา แสดงโดยยกฝ่าพระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นเหนือแนว
สะโพก พระหัตถ์ซ้ายจับชายจีวรหรือวางบนพระเพลา พบทั้งในอิริยาบถยืนและประทับนั่ง อภัย
ื้
ื้
มุทราถือเป็นมุทราพนฐาน ประติมากรรมเทพเจ้าในศาสนาฮินดู รวมถึงเทพเจ้าพนเมืองก็นิยม
แสดงอภัยมุทราเช่นกัน
• วรทมุทรา (ประทานพร) แสดงโดยแบฝ่าพระบาทขวา นิ้วพระหัตถ์ทั้งห้าชี้ลง
ด้านล่าง มักพบคู่กับการจับชายจีวรด้วยพระหัตถ์ซ้าย นิยมในพระพุทธรูปยืนมากกว่าประทับนั่ง
• ธยานมุทรา (สมาธิ) การแสดงธยานมุทราเกี่ยวข้องกันกับการทำสมาธิ รวมถึง
็
การบำเพญตบะหรือโยคะ แสดงโดยวางพระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา มุทรานี้จึงใช้ได้
กับพระพทธรูปประทับนั่งเท่านั้น และมักพบควบคู่กับความพยายาม “พาดชายจีวร” เพื่อให้ไม่
ุ
ต้องพะวงเรื่องการจับชายจีวร
• ภูมิสปรรศมุทรา (มารวิชัย) เกี่ยวข้องโดยตรงกับพทธประวัติตอนมารผจญ
ุ
ก่อนการตรัสรู้ นิยมในศิลปะอินเดียเหนือมากกว่าอินเดียใต้ แสดงโดยวางพระหัตถ์ขวาบริเวณ
พระชงฆ์ (แข้ง) หรือพระชานุ (เข่า) ในลักษณะชี้หรือสัมผัสแผ่นดิน ส่วนพระหัตถ์ซ้ายมักวาง
หงายบนพระเพลา ทำให้เกิดการพาดชายจีวรขึ้นเพื่อให้พระหัตถ์ซ้ายเป็นอิสระ
• วิตรรกมุทรา (สั่งสอน) แสดงโดยยกฝ่าพระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นคล้ายอภัยมุทรา แต่
นิ้วพระหัตถ์จีบเป็นวงโดยใช้พระหัตถ์สองนิ้วแตะกัน มักได้แก่พระอังคุฐ (นิ้วโป้ง) และพระ
ดรรชนี (นิ้วชี้) วิตรรกะมุทราพบทั้งพระพุทธรูปยืนและประทับนั่ง มุทรานี้ใช้เพียงพระหัตถ์ขวา
ข้างเดียวในการแสดง พระหัตถ์ซ้ายจึงอาจจับชายจีวรหรือวางไว้บนพระเพลาก็ได้
• ธรรมจักรมุทรา (ปฐมเทศนา) มีชื่อเต็มในภาษาสันสกฤตว่า “ธรรมจักร
ประวรรตนมุทรา” แปลว่าปางหมุนธรรมจักร แสดงโดยยกพระหัตถ์ขวาขึ้นและจีบนิ้วเป็นวง
(คล้ายวิตรรกมุทรา) ถือเป็นสัญลักษณ์ของ “ธรรมจักร” พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นและชี้นิ้วใดนิ้วหนึ่ง
แตะวงจีบนิ้ว เป็นสัญลักษณ์ของ “การหมุน” ธรรมจักรมุทราสัมพันธ์กับพุทธประวัติตอนแสดง
ุ
ปฐมเทศนา ดังปรากฏพระพทธรูปแสดงธรรมจักรมุทราที่มีธรรมจักร กวางหมอบและปัญจ-
วัคคีย์อยู่เบื้องล่างเป็นบริบทประกอบ ไม่นิยมในศิลปะอินเดียใต้
ลักษณะสำคัญต่างๆ ในงานประติมากรรม มีดังต่อไปนี้
• สกุลช่างคันธาระ งานศิลปกรรมในสกุลช่างนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเฮเลนิสติค
พระพทธรูปจึงมีวงหน้าคล้ายกับชาวตะวันตกและมีลักษณะของเทพเจ้ากรีก-โรมัน กล่าวคือ มี
ุ
10
จมูกโด่งเป็นสัน และมีริมฝีปากที่หยักเป็นวงโค้งอย่างงดงาม มีพระเกศาหยักศก อุษณีษะ มี
ลักษณะเป็นมวยผม ครองจีวรห่มคลุมทั้ง
10 ส่วนที่นูนออกมาจากด้านบนของพระเศยร เป็นการออกแบบของช่างในระยะแรก เพื่อให้พระพุทธรูปแตกต่างจากพระ
ี
สาวก โดยมิได้มีอุษณีษะปรากฏอยู่กับพระพุทธองค์จริง ถือเป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธเจ้าในด้านของประติมานวิทยา