Page 255 - 001
P. 255

244



































                                           ภาพที่ 95 ประติมากรรมนูนต่ำที่ถ้ำภาชา
                   ที่มา : https://www.flickr.com / Online], accessed 29 October 2018.


                                                           ุ
                          แม้จะทำภาพสลักเป็นเรื่องราวในพทธประวัติแต่ในยุคนี้จะใช้สัญลักษณ์แทนองค์
                        ุ
                   พระพทธเจ้า กฎเช่นนี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถอธิบายได้แน่นอน และคงอยู่ในอินเดียไปจนถึงราว
                   พทธศตวรรษที่ 7 เป็นต้นว่า ตอนตรัสรู้จะแสดงรูปต้นโพธิ์ เหนือขึ้นไปจะเป็นรูปฉัตร ภายใต้
                    ุ
                   ฉัตรแสดงให้เห็นถึงบัลลังก์โดยปราศจากตัวบุคคล หรือที่สารนาถตอนปฐมเทศนาจะแสดงออก
                   โดยใช้สัญลักษณ์รูปธรรมจักรและกวางหมอบ ในขณะที่รูปสถูปจะเป็นสัญลักษณ์ในตอน

                   ปรินิพพาน
                          นอกจากภาพเหตุการณ์ในพุทธประวัติแล้ว ส่วนประกอบภาพอื่นๆก็ได้แสดงสัญลักษณ์
                   และเครื่องประดับซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธเลย ยกตัวอย่างเช่น ที่สาญจี แสดงภาพยักษา

                   ยักษี นาคา (Nagas) นาคี (Nagis) สัตว์ต่างๆ เช่น สิงโต ช้าง ม้า วัว กวาง อูฐ ควาย แรด หมูป่า
                   หมี กระรอก รวมไปถึงสัตว์ในจินตนาการ หงส์มักปรากฏให้เห็นบ่อยๆและมาเป็นคู่ นกแก้วและ

                   นกยูงก็มีด้วยเช่นกัน ส่วนสัญลักษณ์ที่สำคัญและมีมาก่อนศาสนาก็ได้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วย เช่น
                   นนทิบาท (Nandi-pada) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาใช้ทั้งในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์
                                                        6
                   โดยในศาสนาพุทธจะถูกเรียกว่า ไตรรัตนะ  (Triratna)










                          6  Upinder Singh, A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12th Century,
                   p. 457.
   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260