Page 257 - 001
P. 257
246
อย่างไรก็ดี ศิลปะในแถบภาคใต้ คือ อมราวดีและนาคารชุนนาโกณฑะกลับมีความสุก
งอมมากกว่างานทางภาคกลางเล็กน้อย โดยภาพนูนต่ำภายในวงกลมของภาคกลางจะมีความ
แออัดน้อยกว่าและความนูนของประติมากรรมจะไม่ค่อยเด่นชัดนัก ในขณะที่การแกะสลักรูป
ทางภาคใต้จะมีความลึกมากกว่า (ทำให้ภาพมีความนูนขึ้นมามากกว่า) รวมไปถึงภาพเหตุการณ์
และภาพบุคคลก็มีความหนาแน่นมากกว่า แต่ภาพบุคคลก็ดูเป็นธรรมชาติและสง่างามมากกว่า
8
ในช่วงแรกเช่นเดียวกัน
ภาพที่ 98 ประติมากรรมนูนต่ำ อมราวดี
ที่มา : https://www.wikimedia.org /[Online], accessed 29 October 2018.
ศิลปะอินเดียแบบคันธาระ มถุรา และอมราวดี
ประวัติศาสตร์อินเดียในช่วงเวลานี้ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไปจนถึงลุ่ม
แม่น้ำคงคาถูกราชวงศ์ต่างชาติเข้ามาปกครอง คือ ราชวงศ์กุษาณะ ซึ่งพนที่ดังกล่าวนี้เคยอยู่ใน
ื้
ความดูแลของพวกกรีกที่เข้ามาในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มาก่อน ดังนั้น จึงมีวัฒนธรรมกรีก
ื้
เป็นพนฐาน เมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เบคราม คาบูล กปิศะ คันธาระ ต่างเป็นแหล่งชุมนุมของ
ช่างฝีมือ โดยเฉพาะประติมากรชาวกรีก ซึ่งความสำคัญของศิลปะในสกุลช่างคันธาระคือ เป็น
สกุลช่างแรกที่มีการประดิษฐ์พระพทธรูปขึ้น มีความรุ่งเรืองอยู่ในระหว่างพทธศตวรรษที่ 6 –
ุ
ุ
ุ
10 (คริสต์ศตวรรษที่ 1-5) และต่อเนื่องไปจนถึงพทธศตวรรษที่ 12 (คริสต์ศตวรรษที่ 7) ในพื้นที่
บางส่วนของกัษมีระและอัฟกานิสถาน ในขณะที่สกุลช่างมถุราก็เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ย
กัน และอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ในราชวงศ์กุษาณะเช่นเดียวกัน ส่วนศิลปะอมราวดี
อยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย มีผู้อุปถัมภ์ คือ ราชวงศ์ศาตวาหนะตอนปลายและอิกษวากุ เจริญขึ้น
ณ เมืองอมราวดี และนาคารชุนโกณฑะ รัฐอานธรประเทศ
8 Upinder Singh, A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12th Century,
p. 455.