Page 256 - 001
P. 256
245
ภาพที่ 96 ไตรรัตนะ
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.
ประติมากรรมนูนต่ำที่เป็นส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมดังกล่าวนี้มีที่สำคัญอยู่ 4 ที่
ด้วยกัน ได้แก่ ที่สาญจี ภารหุต อมราวดี และนาคารชุนนาโกณฑะ ศิลปะแบบภารหุตมีลักษณะ
ง่ายๆ การประกอบภาพก็ยังอยู่ในขั้นต้น ทัศนียวิสัย (perspective) แสดงโดยการวางภาพเป็น
แนวตรงซ้อนกันขึ้นไป ส่วนศิลปะที่สาญจีถือเป็นจุดสุดยอดประติมากรรมนูนต่ำ เนื่องจากมี
ความเจริญทั้งในด้านการประกอบภาพ ทัศนียวิสัย วิธีการในการสลักและทรวดทรงของ
ประติมากรรม แม้จะเป็นภาพสลักที่ต้องการเล่าเรื่องและมีภาพบุคคลหนาแน่นยิ่งกว่าที่ภารหุต
แต่ภาพต่างๆก็ได้ระเบียบ เพราะใช้ทัศนียวิสัยดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ภาพยังคงซ้อนกันขึ้นไปเป็น
แนวตั้ง แต่ก็มักคาบเกี่ยวกัน ทำให้แลดูลึกยิ่งกว่าแต่ก่อน การประกอบภาพแม้มีบุคคลอยู่เป็น
7
จำนวนมาก แต่ก็มีจุดศูนย์กลางทำให้ดูคล้ายกับว่าประชาชนเหล่านั้นมีระเบียบ
ภาพที่ 97 ประติมากรรม (ซ้าย) ภารหุต (ขวา) สาญจี
ที่มา : https://www.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.
7 สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะอินเดีย, หน้า 49-50.