Page 252 - 001
P. 252
241
ศิลปะอินเดียสมัยโบราณ
ครอบคลุมช่วงเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 3 – 7 ในพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคใต้
บางส่วน ดังนั้น จึงมีความเกี่ยวพันกับราชวงศ์ต่างๆที่ปกครองอินเดียในขณะนั้น ได้แก่ ราชวงศ์
โมริยะ ศุงคะ กัณวะ (บริเวณภาคเหนือของอินเดีย) และราชวงศ์ศาตวาหนะหรือราชวงศ์
อานธระ (ภาคใต้ของอินเดีย) ในช่วงเวลานี้สามารถแบ่งงานประติมากรรมได้ 2 แบบด้วยกัน
ได้แก่
1. ประติมากรรมนูนสูง นอกจากหัวเสารูปสัตว์และธรรมจักรที่เป็นส่วนประกอบของ
เสาพระเจ้าอโศกแล้ว ชิ้นงานที่มีความโดดเด่นในสมัยนี้ คือ ประติมากรรมหินทรายสลักรูปชาย
ครึ่งตัวขนาดใหญ่ (torso) ปราศจากศีรษะ จำนวน 2 ชิ้น แสดงอวัยวะเพศชายชัดเจน ค้นพบที่
เมืองโลฮานิปุระ (Lohanipura) ใกล้กับเมืองปัตนะ (Patna) สันนิษฐานว่าเป็นตีรถังกร
2
(Tirthankara) ศาสดาในศาสนาเชน ซึ่งหากข้อสันนิษฐานถูกต้อง งานทั้งสองชิ้นนี้จะถือเป็น
3
ประติมากรรมที่เก่าที่สุดของศาสนาเชนในสมัยราชวงศ์โมริยะ
ภาพที่ 92 ประติมากรรมหินทรายสลักรูปชายครึ่งตัว เมืองโลฮานิปุระ
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.
ประติมากรรมหินขัดอีกสองชิ้นที่น่าสนใจพบที่แหล่งโบราณคดีทิทาร์คันจ์ (Didarganj)
คือ ประติมากรรมรูปยักษี (Yaksi) และประติมากรรมรูปยักษา (Yaksa) จากเมืองปัตนะ ทั้งคู่สูง
ราว 5 ฟุต ทำจากหินทรายชูนาร์ ประติมากรรมยักษามีความเสียหายมากกว่ายักษี โดยมีความ
ชำรุดปราศจากศีรษะ จากการพิจารณาจากรูปร่างทั้งสัดส่วนและกายวิภาค สันนิษฐานว่าทำขึ้น
ในสมัยหลังราชวงศ์โมริยะ ประติมากรรมยักษีได้รับการตีความว่าน่าจะมีความสำคัญ เนื่องจาก
2 S.P. Gupta, Elements of Indian Art, p. 64.
3 กำจร สุนพงษ์ศรี, ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย, หน้า 90.