Page 253 - 001
P. 253
242
ของที่นางถือ คือ แส้ปัดแมลง (fly-whisk) ถือเป็นของใช้สำหรับกษัตริย์หรือเทพเจ้า เป็น
ื่
เครื่องหมายของเกียรติยศทำนองเดียวกันกับฉัตร รูปนางยักษีจึงน่าจะถูกสร้างขึ้นเพอแสดงการ
เป็นบริวารหรือข้ารับใช้ของบุคคลสำคัญ ซึ่งประติมากรรมรูปนั้นสูญหายไปแล้ว ทั้งนี้จุดเด่น
4
ของประติมากรรมทั้งสอง คือ เทคนิควิธีการขัดเงาผิวหินให้เงางามซึ่งเป็นวิธีเฉพาะของช่าง
โมริยะ เช่นเดียวกับบัวหัวเสารูปสัตว์ต่างๆซึ่งเป็นลักษณะเด่นของงานประติมากรรมในสมัยนี้อีก
ด้วย
ภาพที่ 93 ประติมากรรมรูปยักษีจากทิทาร์คันจ์
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.
ประติมากรรมหินทรายรูปยักษาจากเมืองประขัม (Parkham) เป็นงานอีกชิ้นหนึ่งที่
น่าสนใจ เนื่องจากเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่ สูงกว่า 8 ฟต โดยแสดงท่าหยุดนิ่งไม่
ุ
เคลื่อนไหว ดูหนักและแข็งกระด้าง อย่างไรก็ตาม รูปดังกล่าวกลับแสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่
ิ
ในรายละเอียดของช่างฝีมือ โดยพจารณาจากเครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้
ประติมากรรมรูปยักษาและยักษีเป็นตัวแทนของคติความเชื่อในอำนาจของธรรมชาติ เช่น ต้นไม้
น้ำ งู โลกหรือแผ่นดิน ซึ่งความเชื่อดังกล่าวมีมานานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เห็นได้อย่าง
ชัดเจนในวัฒนธรรมฮารัปปา โดยวิญญาณในธรรมชาติต่างๆนั้น บางครั้งก็แสดงออกมาในรูป
ของมนุษย์ที่ทำหน้าที่ปกปักรักษาทรัพยากรที่มีค่าในธรรมชาติ เมื่อศาสนาเกิดขึ้นก็ได้รับเอา
ความเชื่อดังกล่าวมาใช้ในศาสนาของตนด้วยในฐานะของเทพผู้พทักษ์ ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจน
ิ
จากรูปทวารบาลผู้ปกป้องคุ้มครองศาสนสถานนั่นเอง
4 A.L. Basham, The Wonder that was India, p. 367.