Page 20 - 001
P. 20

9


                                                                      5
                   สรุปสภาพภูมิศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์อินเดีย
                          1. ผลของภูมิศาสตร์ที่มีต่อประวัติศาสตร์ทางการเมือง ผลสำคัญบางประการต่อ
                   ประวัติศาสตร์การเมืองของอินเดียมีดังนี้
                             1.1 ภูเขาหิมาลัยที่กว้างใหญ่ไพศาล และเทือกเขาทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออก

                   ในภาคเหนือได้แยกอินเดียออกจากส่วนต่างๆที่เหลือของเอเชีย ภูเขาหิมาลัยนี้เองได้ทำให้
                   อินเดียและจีน ที่ถึงแม้จะเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน แต่กลับมีประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่าง

                   สิ้นเชิง
                             1.2 ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียมีช่องเขาจำนวนมาก ซึ่งชาวต่างชาติได้ใช้เป็น
                   ช่องทางเข้ารุกรานอินเดีย พวกรุกรานบางพวกได้ตั้งหลักแหล่งมั่นคงในภูมิภาคนั้น บางพวกได้

                   ปล้นสะดมทรัพย์สมบัติแล้วจึงจากไป นอกจากช่องเขาเหล่านั้นแล้ว พรมแดนทุกด้านของ
                   อินเดียมีความปลอดภัย

                             1.3 การละเลยและไม่ได้ให้ความสนใจความปลอดภัยของบริเวณพรมแดนทางฝั่ง
                   ช่องเขาของผู้ครองรัฐต่างๆในอินเดีย ทำให้อินเดียต้องเพลี่ยงพล้ำต่อศัตรูผู้รุกรานประเทศ
                   บ่อยครั้ง

                             1.4 ความแตกต่างกันของลักษณะภูมิประเทศในแต่ละภูมิภาค ทำให้พื้นที่ของอินเดีย
                   ในแต่ละภาคมีความแตกต่างกันออกไป สิ่งนี้เองมีส่วนทำให้อินเดียไม่สามารถรวมกันได้ในทาง

                   การเมือง แต่มีลักษณะเป็นอาณาจักรหรือรัฐเล็กๆเป็นจำนวนมากแทน
                             1.5 เทือกเขาวินธัยแบ่งอินเดียออกเป็นอินเดียเหนือและอินเดียใต้ การถูกแบบ
                   ประเทศโดยธรรมชาติ ทำให้ประวัติศาสตร์อินเดียเหนือและอินเดียใต้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

                   การรุกรานอินเดียเหนือและความปั่นป่วนทางการเมืองของอินเดียเหนือไม่มีผลใดๆต่ออินเดียใต้
                   ความแตกต่างกันเช่นนี้ในประวัติศาสตร์เป็นผลของลักษณะทางภูมิศาสตร์

                             1.6 ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณที่ราบทางภาคเหนือของอินเดีย เป็นสาเหตุให้
                   ชาวต่างชาติเข้าไปรุกรานแล้วปล้นทรัพย์สมบัติออกไป เช่น มาห์มูด แห่งอาณาจักรฆาซนี หรือ
                   มุฮัมหมัดแห่งอาณาจักรฆุรี ได้เข้ามาโจมตีภูมิภาคนี้ และเป็นอยู่อย่างนี้หลายศตวรรษ

                   นอกจากนี้ภาคเหนือยังเป็นสมรภูมิทางการเมืองและกิจกรรมทางวัฒนธรรม เมืองสำคัญๆหลาย
                   เมืองก็อยู่ในดินแดนภาคเหนือ เช่น ปาฏลีบุตร อัครา เดลี พาราณสี อัลลาฮาบัด มูลตาน และ

                   ลาฮอร์
                          2. ผลของภูมิศาสตร์ที่มีต่อประวัติศาสตร์วัฒนธรรม
                             2.1 ความอุดมสมบูรณ์ของอินเดียภาคเหนือทำให้ผู้คนรักความสงบ มีอิสระจาก

                   ความกังวลในเรื่องความเป็นอยู่ ดังนั้น ผู้คนเหล่านั้นจึงมีเวลาพอในการสร้างสมงานศิลปกรรม
                   และวรรณคดี ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมในอินเดียเหนือสืบเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์เป็น

                   สำคัญ






                                                                         ี
                          5  ดนัย ไชยโยธา. (2553). วัฒนธรรมและอารยธรรมสัมพันธ์ของอนุทวีปอินเดยกับนานาประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอ
                   เดียนสโตร์, หน้า 7-9.
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25