Page 23 - 001
P. 23

12


                                                         บทที่ 2

                                                  ยุคก่อนประวัติศาสตร์

                          ด้วยความยาวนานของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งแต่พบหลักฐานการมีอยู่ของ

                   มนุษย์ตั้งแต่เมื่อ 2.5 ล้านปีมาแล้ว เรื่อยมาจนถึงสมัยที่ชุมชนหนึ่งชุมชนใดมีตัวอักษรขึ้นใช้ ทำ
                                                                               ื่
                   ให้ต้องมีการจำแนกช่วงลำดับอายุยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพอที่จะสามารถเข้าใจและ
                            ั
                   มองเห็นพฒนาการของพนที่นั้นๆได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วนักโบราณคดีมักจะ
                                          ื้
                   จำแนกอายุสมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยการใช้พฒนาการทางเทคโนโลยี พัฒนาการทางเทคนิค
                                                             ั
                   วิธีการ และวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์มาเป็นเกณฑ ดังนั้น จึง
                                                                                            ์
                   สามารถแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ดังนี้
                          1. สมัยหินเก่า (Early Stone Age / Palaeolithic) สมัยหินเก่าของอินเดียสามารถ

                   แบ่งช่วงเวลาย่อยๆได้อีก 3 สมัยที่สำคัญ ได้แก่ สมัยหินเก่าตอนต้น (Lower Palaeolithic) มี
                   อายุราว 500,000 – 50,000 ปีมาแล้ว  สมัยหินเก่าตอนกลาง (Middle Palaeolithic)
                                                         1
                   ครอบคลุมช่วงเวลาราว 40,000 – 10,000 ปีมาแล้ว และสมัยหินเก่าตอนปลาย (Upper
                   Palaeolithic) กำหนดอายุอยู่ในราว 30,000 – 10,000 ปีมาแล้ว โดยในสมัยหินเก่าตอนต้นนั้น
                   อยู่ในสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) ซึ่งเป็นสมัยทางธรณีวิทยา สมัยนี้ปรากฏธารน้ำแข็งปก

                   คลุมพนที่หลายบริเวณของโลก ดังนั้น จึงถูกเรียกว่า “ยุคน้ำแข็ง” ซึ่งพบว่าลักษณะภูมิอากาศ
                         ื้
                   ในช่วงนี้ในอินเดียมีความผันผวนเกิดขึ้นบ่อยครั้งระหว่างอากาศหนาว แห้ง อบอุ่นและชื้น

                   มนุษย์จึงต้องมีการปรับตัวและสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้น
                   ในแต่ละช่วงเวลา ได้มีการศึกษาและสามารถจำแนกเครื่องมือหินในสมัยหินเก่าตอนต้นโดย
                   อาศัยรูปแบบและเทคนิคการผลิตได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ ดังนี้

                             1.1 เครื่องมือหินในกลุ่มวัฒนธรรมโซฮาเนยน /โซเนยน (Sohanian /Soanian
                                                                    ี่
                                                                             ี่
                   culture) วัฒนธรรมโซฮาเนี่ยนตั้งชื่อตามแม่น้ำโซฮาน (Sohan) หรือ โซน (Soan) ซึ่งเป็น
                   แม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ โดยพบเครื่องมือหินเป็นจำนวนมากในแหล่งต่างๆตามการไหลของ
                   แม่น้ำ โดยเฉพาะบริเวณเนินเขาสิวาลิก (Siwalik hills) ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ
                   อินเดียและประเทศปากีสถานในปัจจุบัน เครื่องมือหินวัฒนธรรมโซฮาเนี่ยนจะเป็นเครื่องมือหิน

                   กรวด (pebble tools) มีทั้งแบบทรงปลายด้านหนึ่งเรียบ ปลายด้านหนึ่งตัดตรง(flat-based)
                   และทรงกลม (rounded pebble) มีทั้งแบบที่กะเทาะด้านเดียวหรือสองด้าน (พบน้อยมาก)

                   แบบหยาบๆบนแกนหินขนาดใหญ่ เครื่องมือหินชนิดนี้มักถูกเรียกว่า เครื่องมือหินแบบขูด-สับ
                   ตัด (chopper- chopping tools) ในขณะเดียวกันก็มีเครื่องมือที่ทำจากสะเก็ดหินด้วย วัตถุดิบ
                   ที่ใช้ทำเครื่องมือหิน คือ หินควอร์ตไซต์ ทั้งที่เป็นหินกรวด (pebble) หินก้อนกลม (cobble)

                   และหินก้อนใหญ่ (boulder)



                          1  A.Ghosh. (1989). An Encyclopaedia of Indian Archaeology. New Delhi: Munshiram Manoharlal
                   Publishers, p.19.
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28