Page 22 - 001
P. 22

11


                          1. กลุ่มภาษาฑราวิท มีทั้งหมด 12 สาขา ที่สำคัญมี 4 สาขา ได้แก่ ภาษาทมิฬ (Tamil)

                   เป็นภาษาที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดในกลุ่มภาษาฑราวิท ภาษาที่สำคัญรองลงมาคือ เตลุคุ
                   (Telugu) มีผู้พูดภาษานี้ประมาณ 40 ล้านคน ถัดมาคือภาษากันนาฑะ (Kannada) และสุดท้าย
                   คือภาษามลายฬัม (Malayalum) ของพวกที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลเช่น รัฐเกราลา (Kerala)

                          2. กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน (Indo – Aryan) หรือ อินโด-ยูโรเปี้ยน (Indo-European)
                   เป็นภาษาในตระกูลเดียวกับภาษากรีกและภาษาละติน และภาษาเยอรมันในทวีปยุโรป เป็น

                   กลุ่มภาษาที่ประชากรทั่วทั้งภาคเหนือ และภาคกลางรวมไปจนถึงเขตเดคข่านใช้พูดกัน สามารถ
                                                           8
                   แบ่งตามวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ได้ ดังนี้
                             2.1 ภาษาสมัยเก่า ได้แก่ ภาษาพระเวท ซึ่งเป็นภาษาที่นักบวชใช้ในเรื่องศาสนา

                                                                                        ์
                   ในช่วง 400 ปีก่อนคริสตกาลหรือราว 2400 ปีมาแล้ว ได้มีผู้รวบรวมหลักเกณฑต่างๆของภาษา
                                                                                             ฺ
                   ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท และแต่งเป็นตำราไวยากรณ์ขึ้นชื่อว่าอัษฏาธยายี (astฺādhyāyī)
                   แปลว่า แปดบทหรือแปดเล่ม โดยเรียกชื่อภาษาในตำรานี้ว่า “สันสกฤต” แปลว่า สมบูรณ์แล้ว
                   ตกแต่งแล้ว กลั่นกรองแล้ว ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาของบรรดาผู้ทรงความรู้ หรือชนชั้น
                   พราหมณ์ ถือเป็นภาษาชั้นสูง เป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์

                             2.2 ภาษาสมัยกลาง ได้แก่ ภาษาปรากฤต ซึ่งก็คือภาษาชาวบ้าน เป็นภาษาถิ่นของ
                   พวกอารยันเผ่าต่างๆในแต่ละถิ่น ไม่ได้หมายจำเพาะไปที่ภาษาใดภาษาหนึ่ง เดิมที่ภาษาที่ใช้ใน

                   คัมภีร์พระเวทก็เป็นภาษาถิ่นหนึ่ง แต่เมื่อมีการนำเอาไปวางระเบียบกฎเกณฑในแง่ของ
                                                                                             ์
                   ไวยากรณ์โดยนักปราชญ์แล้ว ก็ได้ใช้ชื่อว่าภาษาสันสกฤต ภาษาปรากฤตรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยที่
                   ศาสนาพุทธและศาสนาเชนเจริญ เนื่องจากภาษาบาลีซึ่งถือเป็นภาษาหนึ่งในภาษาปรากฤตถูก

                   นำไปใช้เขียนวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และภาษามหาราษฎรีก็ถูกนำไปใช้เป็นภาษาทาง
                   ศาสนาของศาสนาเชน

                             2.3 ภาษาสมัยใหม่ ได้แก่ภาษาต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นต้นว่า ฮินดี กัศมีรี
                   ปัญจาบี สินธี ภาษาเหล่านี้เข้าใจกันว่าสืบเนื่องมาจากภาษาปรากฤต แต่นานวันเข้าก็มีการ
                     ี้
                   เพยนหรือเปลี่ยนแปลงไป เพราะมีภาษาตระกูลอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอินโด-อารยันเข้ามาปะปน
                   ผสมผสาน
                          3. กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) เป็นภาษาตามชายแดนภาคเหนือและภาค

                   ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียในบริเวณหุบเขา เทือกเขา และป่าทึบที่ห่างไกลความเจริญ
                                                                     ั
                   และภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า มีความสัมพันธ์ทางชาติพนธุ์วิทยากับประชาชนในทิเบตและใน
                   เอเชียตะวันออกเฉียงใต้













                          8  ปรียา บุญญะศิริ. (2529). ภาษาของอินเดีย. รวมบทความ อารยธรรมตะวันออก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
                   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้า 111-113.
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27