Page 99 - 2564
P. 99

ตารางที่ 6.1-02 การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการ

                KP1 กระบวนการบริการสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้
                ข้อกำหนด                                                   ตัวชี้วัด
                   1) ได้รับสารสนเทศตรงตามความต้องการ ถูกต้องและรวดเร็ว    1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า

                   2) ความมีจิตบริการและมีมนุษยสัมพันธ์                    ร้อยละ 80
                ผู้รับผิดชอบ: ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้

                KP2 กระบวนการผลิตสื่อการเรียนรู้
                  ข้อกำหนด                                                 ตัวชี้วัด
                  1) สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตมีคุณภาพ น่าสนใจและถูกต้อง ความรวดเร็วการผลิต  1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า
                  2) ความมีจิตบริการและมีมนุษยสัมพันธ์                     ร้อยละ 80

                  ผู้รับผิดชอบ: กลุ่มงานพัฒนาและเผยแพร่
                KP3 กระบวนการสนับสนุนชุมชน

                  ข้อกำหนด                                                 ตัวชี้วัด
                  1) ตรงตามความต้องการของชุมชน                             1) สัมฤทธิผลจากการพัฒนา
                  2) สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัย               2) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า
                                                                             ร้อยละ 80


               6.1ก(3) แนวคิดในการออกแบบ สำนักฯ ใช้แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการทำงาน ด้วย
               ระบบการออกแบบ จัดการและปรับปรุงผลิตภัณฑ์และกระบวนการทำงานที่สำคัญ (ภาพที่ 6.1-01) ภายใต้

               หลักการ SIPOC Model โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงไปของสถานการณ์
               ปัจจุบัน การนำผลการประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงานมาใช้ประกอบการพิจารณา รวมถึงการนำความ

               ต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้บริการต่อผลิตภัณฑ์และการบริการ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และประเมิน

               ด้วยระบบสารสนเทศของสำนักฯ และพิจารณาดำเนินการโดยทีมบริหารของสำนักฯ และมอบหมาย
               ผู้รับผิดชอบหลักของแต่ละกระบวนการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ


               6.1ข การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ

               6.1ข(1) การนำกระบวนการไปปฏิบัติ การปฏิบัติงานประจำวันของแต่ละฝ่าย/งาน ดำเนินงานตามวงจร

               PDCA-Par มีการกำหนดนโยบายโดยผู้นำระดับสูง สื่อสารและติดตามเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตาม

               ข้อกำหนดที่สำคัญ โดยมีมาตรฐานภาระงานประจำวันเป็นตัวกำกับให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน มีระบบ
               แสดงผลการดำเนินงานแบบ Real-time กำกับโดยหัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าฝ่าย ปี พ.ศ. 2564 มีการพัฒนา

               ระบบกำกับติดตามผลการให้บริการ แสดงผลการเข้าใช้บริการ ทำให้สามารถกำกับติดตามกันทำงานแบบ

               ทันเวลา

               6.1ข(2) กระบวนการสนับสนุน สำนักฯ มีการทบทวนกระบวนการทำงานของระบบสนับสนุน 6 กระบวนการ

               (ภาพที่ 2.1-01) โดยเชื่อมโยงกับการจัดการผลการปฏิบัติงานในด้านคุณภาพและความรู้ในงาน เพื่อให้มั่นใจว่า
               การทำงานของแต่ละกระบวนการสนับสนุนจะสามารถบรรลุเป้าหมายของงานนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               อีกทั้งกำหนดให้มีกระบวนการรายงานและติดตามผลการดำเนินงานประจำวัน เพื่อให้มั่นใจว่าผลการ

               ดำเนินงานเป็นไปตามข้อกำหนด


                 หมวด 6 การปฏิบัติการ                                                                  83
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104