Page 210 - 006
P. 210
199
ภาพที่ 45 ประติมากรรมนูนต่ำแสดงสถูปแห่งอมราวดี
ที่มา: http://www.thehindu.com/ [Online], accessed 13 May 2018.
สัญลักษณ์แห่งพระสถูป
สถาปัตยกรรมอินเดียประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ต่างๆมากมาย มันกลายเป็น
ประเพณีนิยมที่รูปแบบสถาปัตยกรรมจะทำหน้าที่สื่อความคิดทางนามธรรม เพื่อเชื่อมสิ่งที่
เรามองเห็นเข้ากับสิ่งที่เรามองไม่เห็นและเชื่อมสิ่งที่เราอธิบายได้เข้ากับสิ่งที่เราอธิบายไม่ได้
พระสถูปก็เช่นเดียวกัน แม้แรกเริ่มเดิมทีจะเป็นเพยงมูลดินที่เกิดจากการเผาศพ แต่เมื่อมัน
ี
ุ
ถูกนำมาใช้ในศาสนาพทธ มันถูกนำมาสร้างให้เกิดเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับพระธรรมและการ
ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
อย่างไรก็ดี ความพยายามในการอธิบายสัญลักษณ์ที่ปรากฏในองค์สถูปเกี่ยวพนกับ
ั
17
ความคิดในเชิงปรัชญามากมาย ดังปรากฏอยู่ในงานเขียนของเอเดรียน สนอดกราส
(Adrian Snodgrass) ในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างเพียง 2หัวข้อเท่านั้น ได้แก่
• โตรณะ (ประตูทางเข้า) การปรากฏโตรณะทั้ง 4 ด้าน ณ สถูปแห่งสาญจี ได้รับ
การตีความว่าเป็นเสมือนสถานที่ที่เป็นจุดตัดของถนนทั้ง 4 เส้นและอาจแสดงให้เห็นถึงการ
แพร่หลายของคำสอนของพระพุทธเจ้าไปสู่สากลโลกจากจุดศูนย์กลางไปยังทิศทั้ง 4 ทิศ
18
• องค์ระฆังหรืออัณฑะ เป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับการตีความที่
ุ
หลากหลาย โดยคัมภีร์ในพระพทธศาสนาได้กล่าวถึงโดมนี้ว่าเป็นประหนึ่ง “ครรภ” “ตัว
อ่อน” “ภาชนะ” และ“อัณฑะ” (ไข่) ซึ่งพระพทธศาสนาในยุคต้นเน้นการใช้สัญลักษณ์ของ
ุ
17 ดูเพิ่มเตมใน เอเดียน สนอดกราส. (2537). สัญลักษณ์แห่งพระสถูป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ์
ิ
18 Peter Harvey. (1984). The Symbolism of the Early Stupa. The Journal of the International Association
of Buddhist Studies, 7 (2), p. 70.