Page 211 - 006
P. 211
200
ไข่ในแง่ความเชื่อเรื่องการหลุดพนเป็นที่พงสุดท้าย พระองค์องค์ทรงมีทัศนะว่าไข่เป็นโลกที่
ึ่
้
19
คุมขังสิ่งมีชีวิตไว้ที่ต้องแตกออกเพื่อปลดปล่อยผู้รู้แจ้ง
นอกจากการตีความดังกล่าวแล้ว นักวิชาการบางท่านได้เสนอว่าโดมซึ่งมีลักษณะ
เป็นภาชนะหรือหม้อที่เรียกว่า กุมภะ (Kumbha) ทำหน้าที่เป็นโกศในการเก็บพระบรม
สารีริกธาตุของพระพทธเจ้า โดยกุมภะดังกล่าวนี้ถูกเอาไปโยงกับปูรณฆฏะ (Purna-ghata)
ุ
หรือหม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์ในศาสนาฮินดูว่า ปูรณฆฏะบรรจุน้ำอมฤต (Amrta) หรือน้ำ
ทิพย์ของเทพเจ้า แต่กุมภะ (ซึ่งมีลักษณะเป็นภาชนะเช่นเดียวกัน) ได้บรรจุธรรมะ (คือพระ
ธาตุของพระพทธเจ้า) อันจะนำพาให้พทธศาสนิกชนไปสู่ความเป็นอมตะ คือ นิพพาน (การ
ุ
ุ
ไร้ซึ่งความตาย-การเกิดอีกต่อไป) เช่นเดียวกัน
20
สถาปัตยกรรมถ้ำ
เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะการตัดหรือเจาะเข้าไปในภูเขา อาจได้รับอิทธิพลมา
จากวัฒนธรรมเปอร์เซีย เนื่องจากราชสำนักเปอร์เซียมีความสัมพันธ์กับอินเดียมาตั้งแต่สมัย
แรกเริ่มประวัติศาสตร์ แต่การขุดถ้ำเข้าไปในภูเขาของเปอร์เซียมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นสุสาน
ในขณะที่ในอินเดียทำขึ้นเพื่อใช้เป็นศาสนสถาน
โดยทั่วไป สถาปัตยกรรมถ้ำจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ถ้ำเจติยสถาน (Chaitya Hall)
หรือ เจติยะคฤหะ (Caitya grฺha) และถ้ำวิหาร (Vihara) ถ้ำเจติยสถานจะมีความสำคัญกว่า
ถ้ำวิหาร เนื่องจากใช้เป็นที่ชุมนุม หรือที่ประชุมของคณะสงฆ์ จะมีผัง 2 แบบ คือ รูปกลม
และสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลายมน
ผังรูปกลม เป็นลักษณะของเจติยสถานแบบโบราณ มักมีขนาดเล็กและแคบ หลังคา
รูปโดมสูง มีทั้งที่สลักหินเลียนแบบเครื่องไม้เป็นโครงหลังคา และแบบที่ไม่มีโครงหลังคา
ภายในมีสถูปที่มักสลักจากหิน (ตัวสถูป) มีผังรูปกลม ส่วนล่างเป็นทรงกระบอก ส่วนบนเป็น
องค์ระฆังรูปครึ่งวงกลม ขนาดไม่ใหญ่นัก ภายในเจติยะคฤหะไม่มีเครื่องประดับตกแต่งใดๆ
21
ตัวอย่างถ้ำที่มีผังเช่นนี้คือ ถ้ำสุทามะ (Sudama) และถ้ำโลมาส ฤาษี (Lomas Rishi)
ั
ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลายมน เป็นรูปแบบพฒนาต่อเนื่องมา มีหลังคารูปร่างคล้าย
ถังผ่าครึ่ง ที่ด้านในสุดมีสิ่งก่อสร้างรูปกลมแบบสถูปเรียก ธาตุครรภเจดีย์ แผนผังนี้เลียนแบบ
มาจากที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น เป็นการนำห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและห้องรูปกลมรวมกัน
หลังคารูปร่างคล้ายถังผ่าครึ่งนี้ในช่วงแรกๆคงมีโครงที่สร้างด้วยไม้ไผ่ และไม้ แต่ปัจจุบัน
เสื่อมสลายไปหมดแล้ว ต่อมาจึงมีการสลักหินเลียนแบบเครื่องไม้
ส่วนถ้ำวิหาร (Vihara) เป็นที่อยู่ของสงฆ์ บางครั้งจึงเรียกว่าสังฆาราม วิหารจะถูกขุด
เข้าไปในถ้ำและอยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่เป็นเจติยสถาน ลักษณะโครงสร้างจะเป็นสิ่งก่อสร้างชั้น
เดียวประกอบด้วยห้องเล็กๆหลายห้อง ซึ่งเปิดออกสู่ลานหรือสวนของศาสนสถาน วิหารของ
ั
หินยานประกอบด้วยห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างและมีห้องพกเล็กๆประกอบอยู่ 3 ด้าน ส่วน
19 เอเดรียน สนอดกราส. สัญลักษณ์แห่งพระสถูป, หน้า 189.
20 Peter Harvey. The Symbolism of the Early Stupa, p. 72.
21 จิรัสสา คชาชีวะ. โบราณคดีอินเดีย, หน้า 306.