Page 177 - 006
P. 177
166
และการศาสนา อย่างไรก็ดี สังคมยังคงประกอบไปด้วยคนหลากหลายวรรณะและชุมชนซึ่ง
ประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน
โดยทั่วไป สถานะของผู้หญิงในสังคมถือว่าสูง บทบาทของสตรีปรากฏทั้งในงาน
ทางด้านการเมืองและทางด้านวรรณกรรม เช่น ราชินีของพระเจ้ากฤษณะเทวะรายา
(Krishnadevaraya) ที่ออกรบเคียงข้างพระสวามี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การแต่งงานในลักษณะ
การมีคู่สมรสเพยงคนเดียวมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีฐานะทางสังคมที่ไม่ดี แต่กลุ่มผู้มีอันจะกิน เช่น
ี
ชนชั้นสูงและเศรษฐีมักมีภรรยาหลายคน เห็นได้อย่างชัดเจน คือ กษัตริย์ ซึ่งมีฮาเร็มขนาดใหญ่
แต่น้อยคนนักที่จะได้เป็นถึงพระราชินี
ภายในอาณาจักรวิชัยนครนั้น ประเพณีมหานาวามิ (Mahanavami) เป็นประเพณีการ
ื่
เฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของอาณาจักร ทำขึ้นเพอเป็นเกียรติแก่เทพทุรคาเมื่อพระนางสามารถ
ี
ื่
สังหารปีศาจร้ายได้ งานจะมีถึง 9 วัน 9 คืนด้วยกัน มีการฆ่าสัตว์เพอเซ่นสังเวยพระแม่เป็น
จำนวนมาก ซึ่งจากบันทึกของชาวต่างชาติกล่าวว่า ในวันสุดท้ายของงานเทศกาลมีควาย 250
ตัวและแกะถึง 4500 ตัวถูกฆ่าเพื่องานเทศกาลนี้
21
• เศรษฐกิจและการค้า หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบทางเศรษฐกิจและสังคมใน
อาณาจักรวิชัยนครส่วนใหญ่แล้วมาจากบันทึกของชาวต่างชาติ ยกตัวอย่างเช่น นิโคโล คอนติ
(Nicolo Conti) อับดุล ราซซัก (Abdur Razzak) บาร์โบซา (Barbosa) และนิกิติน (Nikitin)
เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาภาวะเศรษฐกิจของประชาชนในอาณาจักรวิชัยนครของมหาลิงคัม
(Mahalingam) นักประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมัทราส (Madras University) พบว่า
สามารถแบ่งชนชั้นของประชาชนออกได้อย่างกว้างๆ 2 ชนชั้นด้วยกัน คือ กลุ่มผู้บริโภค
(consumers) และผู้ผลิต (producers) กลุ่มแรกคือ ชนชั้นสูงประกอบไปด้วยชนชั้นปกครอง
ข้าราชการ กองทัพ ตำรวจ ครู นักบวช และพอค้า ในขณะที่กลุ่มผู้ผลิตคือชนชั้นกลาง ได้แก่
่
เกษตรกร ช่างฝีมือ ช่างทอผ้า ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างไม้ ประติมากร ฯลฯ บาร์โบซ่าซึ่งเป็น
พ่อค้าและนักเดินทางชาวโปรตุเกสได้บรรยายว่ากลุ่มชนชั้นสูงจะมีชีวิตอยู่อย่างหรูหรา มีอาหาร
การกินที่อุดมสมบูรณ์ ใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากผ้าไหมและผ้าฝ้าย สวมใส่เครื่องประดับที่แสดง
่
ถึงความมั่งคั่ง นอกจากนี้ เขายังได้อ้างถึงพอค้าตระกูลต่างๆที่ร่ำรวยมากในแถบชายฝั่งมะละ
บาร์ซึ่งทำการค้ากับประเทศต่างๆทางฝั่งตะวันออก
ส่วนชนชั้นกลาง เช่น ครู นักวิชาการ แพทย์ ข้าราชการชั้นผู้น้อย รวมไปถึงทหารใน
กองทัพก็มีความมั่งคั่ง ในขณะที่ช่างฝีมือ ช่างทอผ้า ช่างตัดผม ช่างซักล้างและช่างทำหนัง ซึ่งถือ
ว่าเป็นคนทำงานในระดับต่ำของสังคมยังมีรายได้พอใช้ แต่กลุ่มชนชั้นล่างสุดซึ่งมีมากในสังคม
คือ กรรมกร เกษตรกร (บางกลุ่ม) เจ้าของร้านขายของชำ และทาสกลับดำเนินชีวิตด้วยความ
ขัดสนเป็นอย่างยิ่ง คนจนและคนรวยมีความแตกต่างในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่อย่างชัดเจน
ในขณะที่รัฐก็ไม่ได้ทำให้ความทุกข์ยากของคนจนบรรเทาลงไปมากนัก ยกเว้นในภาวะฉุกเฉิน
เช่นในช่วงเวลาข้าวยากหมากแพง เป็นต้น
21 R.C. Majumdar. An Advanced History of India, p. 377.