Page 176 - 006
P. 176

165


                          ความสำคัญของอาณาจักวิชัยนครในประวัติศาสตร์อินเดียอยู่ที่การเป็นรัฐที่ตั้งตระหง่าน

                   อยู่ถึง 300 ปีโดยที่ยังสามารถธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและศาสนาดั้งเดิมของอินเดียและไม่ถูกกลืน
                   กินจากความเชื่อใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนั้น
                                                                   18
                          ในระยะเวลากว่า 300 ปีที่อาณาจักรฮินดูแห่งนี้ยืนหยัดอยู่ในประเทศอินเดียได้ถูก

                   ปกครองโดย 3 ราชวงศ์ด้วยกันคือ ราชวงศ์สังคม (Sangama Dynasty) มีพระเจ้าหริหระที่ 1
                   (พ.ศ. 1879 – 1898) เป็นผู้ปกครองคนแรก ส่วนกษัตริย์ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นมหาราชในราชวงศ์นี้

                   คือ พระเจ้าเทวะรายาที่ 2 (Devaraya II : พ.ศ. 1968-1990 ; ค.ศ. 1425-1447) หลังจากการ
                   สิ้นสุดของราชวงศ์สังคม ราชวงศ์สะลุวะ (Saluva Dynasty) ได้สืบต่อมา ตามด้วยราชวงศ์ตุลุวะ
                   (Tuluva Dynasty) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรวิชัยนคร

                            • นโยบายทางการเมือง กษัตริย์ยังคงเป็นผู้นำในทุกอำนาจและการบริหารจัดการ ไม่
                   ว่าจะเป็นด้านตุลาการ การทหาร และการปกครองบ้านเมือง และแม้พระองค์จะมีคณะมนตรี

                   เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน แต่พระองค์ก็สามารถที่จะปลดหรือแต่งตั้งผู้ใดก็ได้ตามความพอใจ
                   ของพระองค์ โดยสภาของคณะมนตรีดังกล่าวจะประกอบไปด้วยสมาชิก 8-10 คน อาจจะมีพระ
                                                                                                 ั
                   บรมวงศานุวงศ์ร่วมอยู่ด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วคณะมนตรีจะเป็นนักปราชญ์ซึ่งมีสายสัมพนธ์มา
                   ตั้งแต่กษัตริย์พระองค์ก่อน อย่างไรก็ดี กษัตริย์อาจไม่ทำตามคำแนะนำของคณะมนตรีก็ได้ หาก
                                                             19
                   พระองค์มีหนทางการดำเนินการของพระองค์เอง
                          รายได้หลักของอาณาจักรคือภาษีที่ได้มาจากดินแดนต่างๆที่เจ้าที่ดินดูแลอยู่ รวมไปถึง
                   เมืองท่าและภาษีศุลกากร ส่วนรายได้อื่นๆมาจากภาษีประเภทอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม
                   ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของรัฐคือการบำรุงรักษากองทัพ ส่วนเงินบริจาคที่มาจากสาธารณชนจะ

                   ถูกนำไปบำรุงศาสนสถาน นอกจากนี้ ในส่วนของการสร้างและซ่อมแซมงานด้านชลประทาน
                   และสาธารณูปโภคต่างๆเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องรับผิดชอบ

                          ในการบริหารส่วนท้องถิ่นก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักจากยุคก่อนหน้า อาณาจักรถูก
                   แบ่งเป็นท้องที่หรือจังหวัดต่างๆ ซึ่งเรียกว่ารายยะ (Rayyas) บางครั้งก็เรียกว่า มณฑล
                   (Mandalas) เมื่อรายยะใดมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะถูกเรียกว่า มหารายยะ (Maharayya) ภายในจะ

                   ถูกแบ่งเป็นอำเภอและหมู่บ้าน ทั้งนี้ แต่ละจังหวัดจะอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด
                   ซึ่งมักจะเป็นสมาชิกในราชวงศ์ ผู้ว่าเหล่านี้มีอำนาจมหาศาล พวกเขามีกองกำลังเป็นของตนเอง

                   และปกครองพื้นที่โดยปราศจากการแทรกแซงจากส่วนกลางตราบเท่าที่พวกเขายังคงได้รับความ
                   ไว้วางใจจากพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ ในแต่ละท้องที่ยังสามารถผลิตเหรียญของตนเอง
                                  20
                   ออกมาได้อีกด้วย
                           • สังคม อาณาจักรวิชัยนครถือเป็นอาณาจักรผู้พทักษ์ศาสนาฮินดูในภาคใต้รวมไปถึง
                                                                      ิ
                   ระบบวรรณะให้ยังคงอยู่ในสังคม วรรณะพราหมณ์ยังคงถือเป็นวรรณะที่สูงส่ง พวกเขาดำรง

                   ตำแหน่งสำคัญๆส่วนใหญ่ในอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งทางการเมือง การบริหาร การทหาร



                          18  R.C. Majumdar. An Advanced History of India, p. 366.
                          19  P.N Chopra, T.K. Ravindran and N. Subrahmanian. (1979). History of South India Vol.II : Medieval
                   Period. New Delhi: S.Chand & Company LTD., p. 173.
                          20  Ibid, p. 175.
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181