Page 181 - 006
P. 181

170


                                                            บทที่ 11

                                                          ราชวงศ์โมกุล

                          ประวัติศาสตร์ของอินเดียตั้งแต่ปีพ.ศ. 2069 – 2099 (ค.ศ. 1526-1556) เป็นช่วงการ

                   เข้ามาและขยายอำนาจในอินเดียของพวกโมกุล ซึ่งเป็นมุสลิมคนละกลุ่มกับมุสลิมในสมัยสุลต่าน
                   แห่งเดลี ราชวงศ์โมกุลได้เข้ามาปกครองอินเดียและมีอำนาจยิ่งใหญ่เกือบทั่วอินเดียในเวลา

                   ต่อมา จนอาจกล่าวได้ว่าใกล้เคียงกับสมัยโมริยะหรือสมัยคุปตะในอดีต  คำว่าโมกุล (Moghul /
                                                                                1
                   Mughal) มาจากคำว่า “มองโกล” (Mongol) เป็นชื่อเรียกชนผิวเหลือง ชนเผ่ามองโกลกลุ่ม
                   หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจงกิสข่าน (Chingiz Khan) ได้เข้ายึดครองเอเชียกลางไว้ได้เกือบ

                   ทั้งหมด และเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ชนเผ่ากลุ่มนี้เองที่แตกแขนงออกมารุกรานเข้าไปใน
                   อินเดีย และตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้น โดยการโค่นล้มมุสลิม-เตอร์กที่เป็นมุสลิมอีกสายหนึ่งซึ่ง

                   ปกครองอินเดียก่อนหน้านี้


                   ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
                          ในปีพ.ศ. 2069 (ค.ศ. 1526) บาบูร์ (Babur) ผู้สืบเชื้อสายมาจากมองโกลและเตอร์ก
                                                                           ่
                   โดยมีฝ่ายแม่สืบเชื้อสายมาจากจักรพรรดิเจงกิสข่าน และฝ่ายพอสืบเชื้อสายมาจากจักรพรรดิ
                   ติมูร์ (Timur) จากซามาร์คานด์ (Samarkand) ได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองคาบูล (Kabul) และยึด
                   อำนาจจากราชวงศ์โลทิของสุลต่านแห่งเดลีลงได้ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง

                   ราชวงศ์โมกุล ความสำเร็จส่วนหนึ่งของกองทัพบาบูร์มาจากการที่พระองค์มีการใช้ปืนคาบศิลา
                                                            2
                   และปืนใหญ่ซึ่งถือเป็นอาวุธชนิดใหม่ในยุคนั้น  พระองค์ได้ใช้อาวุธชนิดนี้อีกหลายครั้งในการ
                   ขยายอาณาเขตของพระองค์

                          ในขณะที่บาบูร์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น บาบูร์ได้แบ่งพนที่ให้บุตรชายคนต่างๆ ถือ
                                                                             ื้
                   ครองดินแดนได้ชั่วคราวตามธรรมเนียมการปฏิบัติของชนเผ่า ดังนั้น เจ้าชายหุมายัน

                   (Humayun) จึงได้ครองพนที่พาทักชาน (Badakhshan) เจ้าชายคัมรัน (Kamran) ได้ครอง
                                          ื้
                   พนที่กันดาฮาร์ (Qandahar) คาบุล (Kabul) และปัญจาบ (Punjab) และเจ้าชายอัสคารี
                    ื้
                                          3
                   (Askari) ได้ถือครองมุลตัน  ธรรมเนียมการแบ่งพื้นที่ให้เจ้าชายต่างๆได้ปกครองแบบกึ่งอิสระกึ่ง
                   ถาวรเช่นนี้ก่อให้เกิดความยุ่งยากให้กับผู้สืบทอดองค์ต่อมา โดยเมื่อบาบูร์สิ้นพระชนม์ลงในปี
                   พ.ศ. 2073 (ค.ศ. 1530) พระองค์ได้แต่งตั้งเจ้าชายหุมายันเป็นกษัตริย์องค์ต่อมา หุมายันต้อง

                   ต่อสู้กับเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ และต้องรักษาอาณาเขตที่พระบิดาทิ้งไว้ให้ อีกทั้งยังต้องบริหาร
                   จัดการดินแดนที่พี่น้องถือครองไว้ด้วย อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2083 (ค.ศ. 1540) เชอร์ ชาห์ สุระ
                                                                    ิ
                   (Sher Shah Sur) ผู้นำชาวอัฟฆาน-  เตอร์กในแคว้นพหารได้ยกทัพเข้าโจมตีจักรวรรดิโมกุล


                          1  สาวิตรี เจริญพงศ์. (2544). ภารตารยะ อารยธรรมอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงหลังได้รับเอกราช. กรุงเทพฯ: โครงการ
                   เผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 168.
                          2  M. Athar Ali. (2003). The Mughal empire and its successors. History of Civilizations of Central Asia
                   Volume V. Unesco Publishing, p. 303.
                          3  Munis D. Faruqui. (2012). The Princes of Mughal Empire 1504-1719. USA: Cambridge University Press, p.
                   26.
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186