Page 173 - 006
P. 173
162
3) การค้า การค้าส่วนใหญ่เป็นการค้าในระดับท้องถิ่น แต่บางเมืองก็แสดงบทบาทการ
เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางของตลาดที่รวมสินค้าต่างๆไว้ เช่น ม้า ทาส ผงคราม ผ้าไหม และเนย
่
พอค้าส่วนใหญ่เป็นพวกฮินดูและเชน เนื่องจากมุสลิมที่เข้ามาในอินเดียเป็นทหาร ไม่มีความ
ชำนาญในการค้า ส่วนการค้าทางทะเลไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้ปกครองเท่าใดนัก ถึง
กระนั้น เมืองท่าในแถบเบงกอลและคุชราตก็รุ่งเรืองมากในการทำการค้ากับจีนและเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ สินค้าส่งออกส่วนใหญ่คือ สินค้าทางการเกษตรและสิ่งทอ ส่วนสินค้านำเข้า
เป็นของฟุ่มเฟือย เช่น ทองคำและเงิน
• สังคม มีความแตกต่างกันมากระหว่างชนชั้นที่ร่ำรวย เช่น ผู้ปกครองและขุนนางกับ
ุ้
ชนชั้นที่ยากจน คือ เกษตรกรและทาส ในขณะที่ผู้ที่ร่ำรวยมีมาตรฐานการใช้ชีวิตที่ฟงเฟ้อ แต่ผู้
ที่ยากจนมีมาตรฐานความเป็นอยู่ของชีวิตอยู่ในระดับที่ต่ำมาก โดยทั่วไปแล้วสุลต่านและขุนนาง
จะมีทาสทั้งหญิงและชายอยู่ในความครอบครอง ทาสในราชสำนักมีเป็นจำนวนมาก สุลต่าน
อะลา อุดดิน คัลจิมีทาสอยู่ถึง 50,000 คน และเมื่อถึงสมัยของสุลต่านไฟรุซ ชาห์ (Firuz Shah)
ิ่
ก็เพมจำนวนขึ้นมาถึง 200,000 คน ทาสเหล่านี้มีไว้ใช้งานบริการและบางครั้งก็เพอประโยชน์
ื่
ทางการเงิน บางครั้งสุลต่านก็ปล่อยให้ทาสเป็นอิสระ และบางครั้งก็พบว่าทาสก็สามารถทำงาน
ในตำแหน่งที่สูงขึ้นทั้งในทางสังคมและการเมืองโดยอาศัยความสามารถของตนเองไต่เต้าขึ้นไป
นอกจากทาสชาวอินเดียแล้ว ยังมีทาสที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เป็นต้นว่า จีน
เตอร์กิสถาน (Turkestan) และเปอร์เซีย (Persia) ทั้งนี้ ราคาทาสไม่มีความแน่นอน มักขึ้นลง
ตามสภาวะสงครามและความอดอยากในแต่ละช่วงเวลา
12
อิทธิพลของศาสนาอิสลามทำให้สถานะของสตรีฮินดูตกต่ำลงไป เด็กหญิงจะถูกจัดให้
แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ชีวิตของผู้หญิงจะต้องขึ้นอยู่กับสามีหรือลูกชาย การคบชู้หรือการ
นอกใจถือเป็นข้อห้ามอาชญากรรมของผู้หญิง แต่ไม่บังคับสำหรับผู้ชาย ผู้หญิงในชนบทไม่ค่อย
ได้รับการศึกษา ในขณะที่ผู้หญิงที่เป็นชนชั้นสูงกลับได้รับการศึกษาทั้งทางด้านอักษรศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ หญิงหม้ายห้ามมิให้แต่งงานใหม่ หากสามีเสียชีวิต สตรีที่เป็นชนชั้นสูงต้องกระโดด
ลงบนกองเพลิงตายตามสามีไป เรียกว่าพธีสตี (Sati) ส่วนประเพณีการเก็บตัวหรือปูระทะห์
ิ
13
(Purdah) ทำกันทั้งในหมู่สตรีชาวฮินดูและมุสลิม
• ภาษาและวรรณกรรม ในระยะแรกพวกมุสลิมได้นำภาษาเปอร์เซียเข้ามาในราชสำนัก
เนื่องจากมีความคุ้นเคยมากกว่า แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากชาวฮินดูพยายามต่อต้านและ
ั
นำเอาภาษาถิ่นมาใช้ในการประพนธ์วรรณกรรม บทกลอน และบทเพลงมาใช้แทนภาษา
เปอร์เซีย ในเวลาต่อมาชาวมุสลิมจึงเริ่มใช้ภาษาอูรดู (Urdu) ซึ่งมาจากการผสมผสานระหว่าง
ี
ภาษาสันสกฤต เปอร์เซีย อาหรับ เตอร์ก และฮินดี ในระยะแรกภาษาอูรดูเป็นเพยงภาษาพด
ู
หลังจากนั้นจึงมีภาษาเขียน ต่อมาอูรดูได้มีการพัฒนาไปสู่ภาษาท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมี
ส่วนทำให้ค่านิยมที่ว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสูงลดความสำคัญลง ปัจจุบันภาษาอูรดูยังคงเป็น
ภาษาทางราชการที่ใช้ในประเทศปากีสถาน
12 R.C. Majumdar. (1963). An Advanced History of India. London: Macmillan & Co., Ltd., p. 400.
13 ปูระทะห์ (Purdah) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันในสังคมฮินดูและมุสลิม โดยผู้หญิงจะถูกแยกห้องต่างหากหรืออยู่ด้านหลัง
ฉากกั้น รวมไปถึงการแต่งกายด้วยผ้าคลุมหน้า คลุมศีรษะเพื่อกันสายตาของผู้ชายหรือคนแปลกหน้าที่มองเข้ามา