Page 174 - 006
P. 174

163


                          ด้านวรรณกรรมก็มีการผสมผสานระหว่างฮินดูและมุสลิมด้วยเช่นกัน ดังปรากฏว่ามีการ

                   แปลวรรณกรรมของทั้งฮินดูและมุสลิม ราชสำนักได้ให้การอุปถัมภ์วรรณกรรมอิสลามโดยใช้
                   เปอร์เซียและอาหรับเป็นต้นแบบ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการแปลงานสำคัญๆในภาษาสันสกฤต
                   เป็นภาษาเปอร์เซียด้วย เช่น ตำราแพทย์ ปรัชญา และดาราศาสตร์ เป็นต้น
                                                                                    14
                          • ศาสนา สมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ชาวอินเดียเริ่มหันมานับถือศาสนา
                   อิสลามมากขึ้น สาเหตุที่ชาวฮินดูบางส่วนหันมานับถือศาสนาอิสลามประการหนึ่ง คือ ไม่

                   ต้องการเสียภาษีที่เก็บมาจากผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม และเนื่องจากศาสนาอิสลามไม่มี
                   ระบบวรรณะ เพราะถือว่ามุสลิมทุกคนเท่าเทียมกัน นอกจากนั้น ยังมีหลักในการปฏิบัติที่ง่ายต่อ
                   การนับถือ ดังนั้น ชาวฮินดูที่อยู่ในวรรณะต่ำจึงหันมานับถือศาสนาอิสลาม สำหรับชาวฮินดูใน

                   วรรณะสูงที่หันมานับถือศาสนาอิสลามก็เพราะต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ
                   เนื่องจากตำแหน่งราชการในระดับสูงเป็นสิทธิพเศษของพวกมุสลิม การสร้างความเป็นอันหนึ่ง
                                                             ิ
                   อันเดียวกันกับราชสำนักหรือสังคมชนชั้นสูงของมุสลิมจะทำให้มีโอกาสได้รับผลประโยชน์
                   โดยง่าย จึงทำให้คนวรรณะสูงหันมานับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนไม่น้อย สาเหตุดังกล่าว
                   นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ชาวฮินดูทั้งวรรณะสูงและวรรณะต่ำหันมานับถือศาสนาอิสลาม

                                                                                                  15
                   ในเวลาต่อมาชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลามจึงมีประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด
                            ในสมัยนี้ยังเกิดลัทธิความเชื่อทางศาสนาใหม่ โดยการนำเอาแก่นแท้ของศาสนาฮินดู

                   และศาสนาอิสลามมาเป็นแนวทาง นั่นคือ ศาสนาซิกข์ (Sikhism) ศาสดาของศาสนานี้คือ คุรุนา
                   นัก (Kuru Nanak, พ.ศ.2012- 2081: ค.ศ.1469-1538) ซึ่งพยายามประนีประนอมความ
                   ขัดแย้งระหว่างศาสนาฮินดูและอิสลาม คุรุนานักมีจุดมุ่งหมายที่จะรวมความแตกต่างระหว่างผู้

                   นับถือศาสนาทั้งสอง โดยมีหลักสำคัญ คือ “ไม่มีพระเจ้าของชาวฮินดูองค์หนึ่ง ไม่มีพระเจ้า
                   สำหรับชาวมุสลิมอีกองค์หนึ่ง แต่มีพระเจ้าองค์เดียวสำหรับมนุษย์ทั้งปวง” คุรุนานักปฏิเสธการ

                   แบ่งชั้นวรรณะของชาวฮินดู และไม่ยอมรับสถาบันทางศาสนาของชาวมุสลิม คุรุนานักได้แสดง
                   ตัวเป็นทั้งมุสลิมและฮินดูในขณะเดียวกัน กล่าวคือ แต่งกายแบบฮินดู แต่สวมหมวกแบบ
                        16
                   มุสลิม

                          อาณาจักรของมุสลิม-เตอร์กเริ่มล่มสลายภายหลังจากราชวงศ์ตุกห์ลักหมดอำนาจลง

                   ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 (คริสต์ศตวรรษที่ 15) แม้จะมีราชวงศ์ที่สืบต่อมาอีก 2 ราชวงศ์
                   คือ ราชวงศ์ซัยยิด (Sayyid Dynasty) และราชวงศ์โลทิ (Lodi Dynasty) แต่ก็ไม่สามารถ
                               ื้
                   ครอบครองพนที่เดิมไว้ได้ทั้งหมด ได้เกิดการแยกตัวของขุนนางและสถาปนารัฐมุสลิมท้องถิ่น
                                                           17
                   (Muslim regional sultanates) ขึ้นถึง 8 รัฐ  โดย 6 ใน 8 รัฐดังกล่าวเป็นผลมาจากการก่อ




                                                             ์
                          14  สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณ และศุภวรรณ ชวรัตนวงศ. อินเดีย : อดีต-ปัจจุบัน, หน้า 110.
                          15  คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. อารยธรรมสมัยโบราณ-สมัยกลาง, หน้า 350-351.
                                               ์
                          16  เรื่องเดิม, หน้า 353.
                          17  รัฐมุสลิมทั้ง 8 รัฐทางภาคเหนือและภาคตะวันตกประกอบไปด้วย รัฐสินธุ์ รัฐกัษมีระ รัฐเบงกอล รัฐชวนปุระ (Jauanpur)
                   รัฐคุชราต รัฐมัลวะ รัฐข่านเดช (Khandesh) และพาห์มานิ (Bahmani) ดูเพิ่มเตมที่ Burjor Avari. Islamic Civilization in South
                                                                    ิ
                   Asia, pp. 85-89.
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179