Page 402 - 049
P. 402
363
ค าอธิบาย
1. ขั้นเริ่มต้นการพัฒนา
แนวคิด
แนวคิดของการพัฒนาสมรรถนะการบริหารความขัดแย้ง ส าหรับผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีดังนี้
1. เปิดโอกาสให้ผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เต็มที่ตามศักยภาพ โดย
้
้
เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองถึงจุดแข็งและข้อบกพร่อง สามารถแกไขขอบกพร่องให้ดีขึ้นด้วย
ตนเอง มีความพรั่งพร้อมด้วยปัญญา มองเห็นความสัมพันธ์ การเชื่อมโยงเปลี่ยนแปลงตามที่เป็นจริง
สามารถค้นพบศักยภาพภายใน เข้าใจตนเองและโลกมากขึ้น
2. ช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายทักษะ
และประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารด้วยกัน ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขั้นพื้นฐานในตนเอง
(Transformative Learning)
3. ส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษามีจิตสร้างสรรค์ (Creating Mind) คิดนอกกรอบ
สร้างสรรค์ ค้นหาแนวคิดและแนวปฏิบัติใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้จากความผิดพลาดและแนว
ปฏิบัติระหว่างผู้บริหารด้วยกัน
4. ส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้พัฒนาพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่พึงประสงค์
สามารถเชื่อมโยงทักษะน าไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจ าวัน ได้แก่ ความตระหนักรู้ในตนเอง ความ
เมตตากรุณา จิตสาธารณะ ยอมรับในความแตกต่างที่หลากหลาย จิตรู้เคารพ (Respectful Mind)
และจิตรู้จริยธรรม (Ethical Mind) เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Fundamental) ที่มีต่อตนและ
จิตส านึกต่อส่วนรวม
หลักการ
หลักการของการพัฒนาสมรรถนะการบริหารความขัดแย้ง ส าหรับผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีดังนี้
1. มีการด าเนินการอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง มีกิจกรรมที่หลากหลาย สามารถปรับเปลี่ยน
ไปตามบริบทที่แตกต่างกันในสังคมพหุวัฒนธรรม พหุนิยมและพหุปัญญา
2. มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
และความต้องการจ าเป็นของแต่ละบุคคลหรือหน่วยงาน ซึ่งอาศัยแนวคิดกระบวนการและทฤษฎีที่
เกี่ยวข้องตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ผสมผสานจากประสบการณ์ตรง การฝึกอบรม การพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ รูปแบบต่างๆ ของการพัฒนาพฤติกรรม
3. สามารถติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลเป็นรายบุคคลหลังจากการพัฒนา มีการ
ทบทวนและฝึกฝนทักษะด้วยการปฏิบัติซ้ า (Repeat) รับฟังความคิดเห็น ข้อติชมของผู้อน
ื่
ั
(Feedback) และการสอนงาน (Coaching) โดยอาศัยแนวคิด หลักการประเมินผลการพฒนาการ
เรียนรู้