Page 147 - e004
P. 147

140

            การสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชนนั้น สังเกตได้จากการที่คนในชุมชน
            กินดีอยู่ดี มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่อาศัยท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี
            องค์การสมัยใหม่ที่ดำเนินกิจการและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นั้นก็ย่อมได้รับสิ่งดี ๆ คืน
            กลับไปสู่องค์การไม่ทางตรงก็ทางอ้อมด้วยเช่นกัน
                      4) องค์การสมัยใหม่มีการจัดทำโครงการและกิจกรรมที่สอดรับกับ

            เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลมากขึ้น มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้
            กับงานสารบรรณเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานซึ่งล้วนเป็นมิตรกับ
            สิ่งแวดล้อม เช่น โครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) การออกแบบ
            บรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุ และวัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติปลอดภัยต่อ
            ผู้บริโภค เป็นต้น สอดคล้องกับกระแสของการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางของ
            SDGs (Sustainable Development Goals) ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
            ทั้ง 5 วิทยาเขต รวมถึงองค์กรที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ก็ได้นำแนวทางดังกล่าว
            มาปรับใช้กับองค์กรด้วยเช่นกัน

                     5) องค์การสมัยใหม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
            หลัก 3 ด้าน ได้แก่
                           5.1 เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจ วิจัย และการ
            ผลิตสินค้าและบริการ
                           5.2 เทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
                           5.3 เทคโนโลยีเพื่อรองรับธุรกิจใหม่
                     6) ความสมัยใหม่ขององค์การ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของหนังสือ
            เล่มนี้ จะเห็นได้ว่า องค์การสมัยใหม่ที่นำมาเป็นกรณีศึกษาทั้ง 9 องค์กร ล้วนมีความ
            สมัยใหม่ที่แตกต่างกันตามแบบฉบับของตนเอง ดังนี้
                           6.1 บริษท กำรปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จ ำกัด (มหำชน)
                                  ั
            มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริหารจัดการแบบสมดุล 3P ได้แก่
            การดูแลคนในชุมชน (People) การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Planet) และความมั่นคงด้าน
            เศรษฐกิจและสังคม (Prosperity)
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152