Page 146 - e004
P. 146
139
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าองค์การสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 มีการ
เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทั้งรูปแบบ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ตลอดจนการปรับตัว
ให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
ภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและพัฒนาต่อไปได้
สรุปภาพรวมได้ ดังนี้
1) สำหรับกลยุทธ์ที่องค์การสมัยใหม่นำมาใช้จะมีขอบเขตครอบคลุม
3 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
2) องค์การสมัยใหม่มีจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ มุ่งเน้นความพึงพอใจ
ของลูกค้า ตลอดจนคุณภาพของสินค้าและบริการ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการ
ตอบสนองความต้องการของคนทุกช่วงวัยโดยเฉพาะการรองรับสังคมผู้สูงอายุ
(Aging Society) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการทุกยุคทุกสมัย
3) องค์การสมัยใหม่ล้วนมีเป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ ความ
รับผิดชอบต่อสังคม (CSR : Corporate Social Responsibility) จะเห็นได้ว่า
สิ่งนี้ถือเป็นหน้าที่หลักขององค์การภาครัฐก็ว่าได้ แต่สำหรับองค์การภาคเอกชน
แล้วสิ่งนี้ถือเป็นความท้าทายที่องค์การจะก้าวเข้ามาร่วมรับผิดชอบสังคมอย่างไร
รูปแบบไหน มีโครงการและกิจกรรมใดบ้างที่รองรับอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึง
งบประมาณค่าใช้จ่ายที่จะนำมาสนับสนุน เป็นต้น เนื่องจากองค์การภาคเอกชน
มีการดำเนินการอยู่บนฐานคิดที่ว่า มุ่งแสวงหากำไรสูงสุด (Maximize Profit)
ดังนั้น ความรับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นความท้าทายขององค์การภาคเอกชน
สมัยใหม่ที่มองเห็นว่าสิ่งนี้ คือ จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้องค์การเติบโตและอยู่
รอดท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์การในแต่ละ
ยุคสมัย เนื่องจากองค์การจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยองค์การภาคส่วนอื่น ๆ
โดยเฉพาะชุมชนสัมพันธ์ที่อยู่รายล้อมองค์การนั้น ๆ ทำนองที่ว่า...การที่องค์การ
มอบโอกาสต่าง ๆ เสมือนคืนกำไรให้คนในสังคมและชุมชนย่อมส่งผลต่อ