Page 152 - e004
P. 152
145
นอกจากนี้ การลงนามในเอกสารสำคัญหลายองค์กรก็อนุญาตให้ใช้
ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว แม้แต่สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
ก็อาจไม่จำเป็นต้องแสดงในรูปแบบเอกสารอีกต่อไป เพราะข้อมูลสำคัญทุกอย่าง
ที่จะยืนยันตัวตนของบุคคลถูกจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดแล้ว
สิ่งนี้สะท้อนความเชื่อมโยงโลกทั้งใบด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล หรือ
Internet of Things (IoT) ซึ่งมีระบบเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
5G การทำงานที่ใช้ทักษะพื้นฐานจะถูกแทนที่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence: AI) และหุ่นยนต์ ส่งผลให้แรงงานในตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและ
เอกชนจะต้องพัฒนาฝีมือตนเองให้มากขึ้นจนกลายเป็นแรงงานที่มีฝีมือ (Skilled
Labor) และมีทักษะการทำงานที่ใช้ได้จริงในศตวรรษที่ 21 ขณะเดียวกัน
สถาบันการศึกษาจะมุ่งเน้นความเป็นเฉพาะทางและความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
ที่สำคัญ องค์กรจะไม่หยุดที่จะเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เช่น การเรียน
ออนไลน์แบบ MOOCs (Massive Open Online Courses) ซึ่งเป็นการเปิด
โอกาสให้ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถเรียนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นการลดความ
เหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของคนในสังคมที่เหมาะกับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา
ดังที่กล่าวไว้ในบทนำว่าการดำเนินการขององค์การภาครัฐกับองค์การเอกชนมี
บริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้น การที่องค์การภาครัฐจะนำหลักการบริหารของ
องค์การเอกชนมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ย่อมต้องมีการ
ปรับเปลี่ยนบางประการเพื่อให้เข้ากับบริบทขององค์การภาครัฐนั่นเอง
ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าจำเป็นต้องอาศัยหลายปัจจัยในการสนับสนุน
และส่งเสริมเพื่อขับเคลื่อนองค์การสมัยใหม่ท่ามกลางความผันผวนของ
สิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกองค์การจึงเป็นความยากและท้าทายของการบริหาร
องค์การสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 ให้ยังคงยืนหยัดและพัฒนาต่อไปได้อย่าง
ยั่งยืน ซึ่งนักบริหารจะต้องใช้ทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ในการบริหารควบคู่กัน