Page 183 - 006
P. 183

172


                   ในขณะนั้น ราชวงศ์โมกุลยังอ่อนด้อยมากทั้งในเรื่องขอบเขต อำนาจ กำลังคน และกำลังทหาร

                   แต่อักบาร์ทรงใช้เวลาตลอดทั้งรัชกาลเพื่อสร้างจักรวรรดิโมกุลขึ้นมา อาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จ
                   ในการสร้างจักรวรรดิโมกุลของอักบาร์มาจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน คือ 1) ระยะเวลา
                   ยาวนานของการครองราชย์ถึงเกือบ 50 ปี จึงทำให้ทรงมีเวลาในการสร้างอำนาจและอารยธรรม

                   อย่างต่อเนื่อง 2) อักบาร์ทรงมีความคิดที่เปิดกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางศาสนา ทำให้ได้
                   ประโยชน์จากคนหลายกลุ่มที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเจริญ เช่น จากฮินดูที่สร้างสม
                                                                         5
                   ความเจริญด้านต่างๆมาอย่างยาวนานแล้วในอินเดีย เป็นต้น  ในสมัยนี้โมกุลมีความรุ่งเรืองใน
                   ทุกด้าน ดังรายละเอียดต่อไปนี้


                          • การขยายอำนาจ เมื่ออักบาร์ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ย้ายเมืองหลวงจากอัคราไป
                   สร้างเมืองใหม่ที่ฟาเตห์ปุระ สิขรี (Fatehpur Sikri) และใช้เป็นเมืองหลวงเป็นระยะเวลา 15 ปี

                   ด้วยกัน เมืองหลวงใหม่นี้ได้กลายเป็นกองบัญชาการในการที่จะขยายอำนาจไปทางทิศตะวันตก
                   เฉียงใต้ ไปถึงคุชราตและเมืองท่าที่สำคัญต่างๆ ซึ่งเป็นทางออกสู่ทะเลอาหรับเพอการติดต่อ
                                                                                           ื่
                       ั
                   สัมพนธ์กับโลกตะวันตกและการค้าขายกับต่างแดน ซึ่งมีผลต่อความเจริญทางเศรษฐกิจของ
                   จักรวรรดิ กล่าวโดยสรุปคือ ในรัชสมัยของอักบาร์พระองค์สามารถขยายอาณาเขตทางตะวันตก
                   ไปจนถึงเอเชียกลาง ทางตะวันออกมาจนถึงอัสสัม (Assam) ทางเหนือครอบคลุมลุ่มแม่น้ำคงคา

                   ได้ทั้งหมด และทางใต้สามารถลงมาจนถึงเทือกเขาวินธัย



































                          แผนที่ที่ 12 อาณาเขตของจักรวรรดิโมกุลสมัยพระเจ้าอักบาร์ (สีเขียว)
                   ที่มา : https://eo.m.wikipedia.org/[Online] accessed 28 October 2018



                          5  สาวิตรี เจริญพงศ์. ภารตารยะ อารยธรรมอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงหลังได้รับเอกราช, หน้า 169-170.
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188