Page 287 - 001
P. 287

276


                                                                      ิ่
                            ั
                          พฒนาการการวาดภาพในจิตรกรรมแบบโมกุลเพมมากขึ้นในสมัยของพระเจ้าอักบาร์
                   และพระเจ้าจาหันคีร์ดังจะเห็นได้จากเอกสาร (ซึ่งด้านในมีภาพวาด) มากกว่า 24,000 เล่ม
                   โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าจาหันคีร์ ที่มีศิลปินประจำราชสำนักคือ อาบุล ฮาซัน (Abul Hasan) ที่
                   พระองค์ภาคภูมิใจและพระราชทานของขวัญและยศศักดิ์ให้ โดยอาบุล ฮาซันได้รับการขนาน

                   นามว่า นาดิรุล ซาแมน (Nadiru’l Zaman) แปลว่า ความมหัศจรรย์แห่งยุคสมัย (Wonder of
                   the Age) สะท้อนให้เห็นถึงฝีมืออันยอดเยี่ยมของเขาในราชสำนักได้เป็นอย่างดี
                          รูปแบบของงานจิตรกรรมสมัยโมกุลที่มีความโดดเด่นคือ จิตรกรรมภาพเหมือนของตัว

                   บุคคล (portraits) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซียในสกุลช่างติมูริด โดยในช่วงแรกๆ จิตรกร
                   เป็นชาวฮินดู การวาดภาพเหมือนบุคคลนี้จะวาดลงบนกระดาษเฉพาะสำหรับวาด แต่ขนาดของ

                   กระดาษค่อนข้างมีขนาดเล็ก จิตรกรรมสมัยโมกุลจึงมีลักษณะเป็นจุลจิตรกรรม (miniatures
                   painting) ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้แตกต่างไปจากสกุลช่างราชปุตและอื่นๆที่อยู่ร่วมสมัยเดียวกัน
                                                            14
                   จึงมีชื่อเรียก เฉพาะว่าสกุลจิตรกรรมแบบโมกุล






































                                                  ภาพที่ 125 อาบุล ฮาซัน
                   ที่มา :  https://upload.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018


                          ทางด้านเทคนิค กรรมวิธีและกระบวนการสร้างเริ่มจากการลงพนขัดถูกระดาษให้เรียบ
                                                                                  ื้
                   อย่างดีก่อน จากนั้นจึงร่างภาพด้วยเส้นหมึกสีแดง ครั้นเมื่อได้เค้าโครงเรียบร้อยแล้ว เริ่มต้นเน้น
                   ตรงที่สำคัญด้วยการใช้เส้นสีดำลงไป เสร็จแล้วจึงระบายสีขาวบางๆทับอีกชั้นหนึ่ง แต่ต้องไม่


                          14  กำจร สุนพงษ์ศรี, ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย, หน้า 316.
   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292