Page 286 - 001
P. 286
275
จิตรกรรมในอินเดียใต้และอินเดียใต้ไกล
นอกจากอินเดียเหนือที่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังตกแต่งภายในศาสนสถานแล้ว
บริเวณอินเดียใต้ คือ แหลมเดคข่านลงไปจนถึงอินเดียใต้ไกล ก็มีการใช้ภาพจิตรกรรมลักษณะนี้
เช่นเดียวกัน โดยในแถบเดคข่าน ภาพจิตรกรรมที่โดดเด่นอยู่ที่ถ้ำไกรลาส เอลโลร่า วาดขึ้นใน
ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีราชวงศ์ราษฏระกูฏะ มีส่วนสำคัญในการเป็นผู้อุปถัมภ์
12
ส่วนจิตรกรรมในเขตใต้ไกลหรือทมิฬนาดูประกอบไปด้วยหลายราชวงศ์ ได้แก่
1. จิตรกรรมฝาผนังราชวงศ์ปัลลวะ ภายใต้ราชวงศ์นี้จิตรกรรมฝาผนังไม่เป็นที่รู้จักมาก
นัก มีร่องรอยเหลืออยู่เล็กน้อยที่เทวาลัยไกรลาสนาถและไวกุณฐเปรุมัลที่กาญจีปุรัม อายุราว
พุทธศตวรรษที่ 13
2. จิตรกรรมฝาผนังราชวงศ์ปาณฑยะ แหล่งภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สำคัญคือ
วัดสิตตะนะวะสัล (Sittanavasal) ในศาสนาเชน ภาพจิตรกรรมปรากฏบนเพดานของอรรถ
มณฑป เป็นภาพธรรมชาติ เช่น เถาไม้เลื้อย ดอกบัว นก หงส์ เป็นต้น องค์ประกอบภาพวาด
ด้วยลายเส้นที่อ่อนช้อย
3. จิตรกรรมฝาผนังราชวงศ์โจฬะ ที่ยังปรากฏอยู่เป็นจำนวนคือ ที่เทวาลัยพฤหเทศวร
ในตันชาวูร์ บนผนังของทางเดินด้านหลังของครรภคฤหะ ซึ่งทำขึ้นตั้งแต่สมัยของราชราชะที่ 1
แต่บางส่วนทำเพิ่มขึ้นในภายหลัง
4. จิตรกรรมฝาผนังราชวงศ์วิชัยนคร พบที่เทวาลัยวิรูปักษา (Virupakksha) ซึ่งถือเป็น
ิ
จิตรกรรมฝาผนังรุ่นแรก เทวาลัยนี้สร้างอุทิศถวายแด่พระศิวะ ดังนั้นภาพจตรกรรมส่วนใหญ่จึง
เป็นเรื่องราวที่มาจากศิวปุราณะ
5. จิตรกรรมฝาผนังราชวงศ์นายกะแห่งมทุระ ปรากฏอยู่ที่วัดศรีรังนาถ (Sri
Ranganatha) ในเมืองติรุฉฉิรัปปลิ (Tiruchchirappali) ซึ่งเป็นวัดในไวษณพนิกาย จึงมี
ภาพเขียนที่เกี่ยวข้องกับพระวิษณุ รวมถึงเรื่องเล่าจากภควตปุราณะ และศิวะปุราณะ เป็นต้น
จิตรกรรมสมัยราชวงศ์โมกุล
จิตรกรรมแบบโมกุลมักปรากฏเป็นจิตรกรรมขนาดเล็กเขียนในสมุด เป็นที่นิยมอยู่
ในช่วงของจักรวรรดิโมกุลที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-24 (คริสต์ศตวรรษที่ 16-19)
จิตรกรรมแบบโมกุลมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เนื่องจากการผสมผสานกันระหว่าง
ศิลปะอินเดียและเปอร์เซียในสกุลช่างติมูริด (Timurid) ซึ่งเคยรุ่งเรืองอยู่ในเปอร์เซียระหว่าง
13
พุทธศตวรรษที่ 20-21 (คริสต์ศตวรรษที่ 15-16) อาจกล่าวได้ว่าจิตรกรรมแบบโมกุลเป็นงาน
ั
ศิลปะในราชสำนักและชนชั้นสูง พฒนางานขึ้นภายใต้การส่งเสริมของจักรพรรดิโมกุลและเริ่ม
เสื่อมความนิยมลงเมื่อผู้ปกครองหมดความสนใจ เรื่องราวในชิ้นงานไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาแต่
เป็นเรื่องราวในราชสำนัก การศึก ตำนาน การล่าสัตว์ ชีวิตสัตว์ป่า ภาพเหมือนบุคคล ภาพการ
เลี้ยงฉลอง ภาพคู่รัก ฯลฯ
12 จิรัสสา คชาชีวะ, โบราณคดีอินเดีย., หน้า 543-548.
13 Percy Brown, The Heritage of India Indian Painting, p. 72.