Page 288 - 001
P. 288

277


                   กลบลบภาพร่างเดิม ครั้งเมื่อแห้งสนิทจึงลงมือระบายสีที่ต้องการลงไป ขั้นตอนเกือบสุดท้าย
                   นิยมระบายแต่งแต้มสีทองตามตำแหน่งที่ต้องการ สุดท้ายคือ การเน้นด้วยลายเส้นเก็บ

                   รายละเอียดต่างๆ ส่วนงานจะสมบูรณ์ได้ก็เมื่อมีการขัดถูให้แผ่นภาพเรียบและเป็นเงางาม สีที่ใช้
                                                                                ื้
                   เป็นสีละลายด้วยน้ำ มีกาวชนิดต่างๆเป็นสารผสมสีให้สีติดแน่นกับพน วิธีการเป็นแบบกูแอช
                   (gouache) ซึ่งเป็นวิธีการระบายแบบสีน้ำทึบซึ่งผิดกับการระบายสีน้ำแบบโปร่งใส คือ อนุญาต
                                                                                                   15
                   ให้มีการผสมสีขาวลงไปด้วยได้ วิธีการเช่นนี้นิยมกันทั้งในยุโรป อาหรับ และอินเดียเองทั่วไป






























                                              ภาพที่ 126 จิตรกรรมแบบโมกุล
                   ที่มา : https://upload.wikimedia.org/ [Online], accessed 29 October 2018

                          จิตรกรรมแบบโมกุลได้ให้ข้อมูลที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิตของชนชั้นสูงในช่วงเวลานั้น อีกทั้ง

                   ยังสะท้อนให้เห็นถึงสังคมร่วมสมัย สภาพทางการเมือง จารีตประเพณีของประชาชนและในราช
                   สำนักได้เป็นอย่างดีอีกด้วย จิตรกรรมในสมัยนี้จึงเป็นสิ่งบอกเล่าเรื่องราวที่ให้ความรู้ความเข้าใจ

                   ในอีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับราชวงศ์โมกุล นอกจากหลักฐานประเภทอื่นๆ ที่นำมาใช้ศึกษากันมาแล้ว

                   จิตรกรรมสกุลช่างราชปุต

                          สกุลช่างราชปุตอยู่ร่วมสมัยกับสกุลช่างโมกุลและถือเป็นสกุลช่างศิลปะแบบท้องถิ่นของ
                   อินเดีย แพร่กระจายอยู่ในแถบราชปุตนะ ปัญจาบและหิมาลัย เริ่มขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18-

                   24 (คริสต์ศตวรรษที่ 13-19) คำเรียกสกุลช่างราชปุตมาจากการที่งานจิตรกรรมได้รับการ
                   อุปถัมภ์จากราชวงศ์ราชปุตนั่นเอง
                          โดยทั่วไปแล้ว แม้เทคนิคและกรรมวิธีในการสร้างภาพจิตรกรรมของสกุลช่างราชปุตจะ

                   เหมือนกับสกุลช่างโมกุล แต่เรื่องราวที่ปรากฏในภาพกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ



                          15  กำจร สุนพงษ์ศรี, ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย, หน้า 317-318.
   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293