Page 289 - 001
P. 289
278
สกุลช่างโมกุลเป็นเรื่องของชนชั้นสูง ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่เรื่องราวในสกุลช่างราชปุตสามารถ
16
แบ่งได้เป็นสองแบบกว้างๆคือ 1) ภาพที่แสดงถึงชีวิตประจำวันของผู้คน และ 2) ภาพที่
เกี่ยวข้องกับนิยายและศาสนา เช่น เรื่องราวของพระกฤษณะ เป็นต้น
สกุลช่างราชปุตสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มกว้างๆได้แก่ ราชสถานี (Rajasthani) และ
ปหารี (Pahari) โดยราชสถานี มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองชัยปูร์ (Jaipur) จิตรกรรมในกลุ่มนี้กระจาย
ตัวอยู่ในแถบภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ทางตะวันออกของแม่น้ำสินธุ ส่วนปหารีเจริญ
ขึ้นในแถบเชิงเขาหิมาลัย ในแคว้นปัญจาบ ชัมมู (Jammu) จนถึงเมืองอัลมอรา (Almora) ในรัฐ
17
อุตตระข่าน (Uttarakhand) ทางตอนเหนือของอินเดีย
จิตรกรรมแบบราชสถานีจะมีลักษณะค่อนข้างแข็งและนิยมใช้การตกแต่งมาก นิยม
18
แสดงภาพฤดูกาลเป็นรูปหญิงสาวแสดงท่าทางตามประเพณี ในขณะที่ภาพแบบปหารีที่ดีที่สุด
โดยมากมักวาดภาพสตรีกำลังแต่งตัว ภาพในหมู่บ้าน ภาพมารดากับบุตร ขบวนแห่ การ
ตระเตรียมอาหารอยู่ในลานบ้าน การบูชาศิวลึงค์ในเวลากลางคืน พธีเกี่ยวกับฤดูกาล และ
ิ
19
อานุภาพต่างๆของพระกฤษณะ ฯลฯ
ภาพที่ 127 จิตรกรรมสกุลช่างราชสถานี
ที่มา : http://upload.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018
16 Percy Brown, The Heritage of India Indian Painting, p. 88.
17 Ananda Coomaraswamy. (1916). Rajput Printing Volume 1 Text. London: Oxford University Press, p. 11.
18 สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะอินเดีย, หน้า 194.
19 เรื่องเดิม, หน้า 195.