Page 230 - 001
P. 230
219
32
สถานที่เพื่อใช้ในการบูชาเทพเจ้าและยังเป็นบ้านของเทพเจ้าด้วย ในการสร้างเทวาลัยจึง
เหมือนการย่อจักรวาลลงมา ตั้งแต่ส่วนบนจนถึงส่วนล่างของอาคารจึงเป็นตัวแทนของโลก
สวรรค์ และดวงดาว ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมตามกำแพงของวัดในศาสนาฮินดูจึงปรากฏ
รูปของมนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นบนโลก
นั่นเอง
อย่างไรก็ดี รูปทรงของวัดฮินดูไม่ได้มีเพยงรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศ แต่กลับมี
ี
ความหลากหลายตามความนิยมในแต่ละภูมิภาค ตามคัมภีร์โบราณกล่าวตรงกันว่ารูปแบบ
สถาปัตยกรรมอินเดียแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ นครา (Nagara) ทราวิฑ (Dravida) และ
เวสะระ (Vesara) ซึ่งมีผังที่ต่างกันคือ นคราใช้ผังสี่เหลี่ยม ทราวิฑมีผังแปดเหลี่ยม และ
เวสะระมีผังวงกลม นคราเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของอินเดียเหนือ ทราวิฑเป็นของอินเดีย
ใต้ ส่วนเวสะระเป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างนคราและทราวิฑ ส่วนใหญ่
33
พบแถบเดคข่านตะวันตกและกรรณาฏกะตอนใต้
สถาปัตยกรรมฮินดูแบบอินเดียเหนือ
สามารถสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้
1. ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบอินเดียเหนือ คือ หอสูงหรือ ศิขร (Sikhara)
มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและมีหลังคาโค้งสูง ไม่แบ่งเป็นชั้นๆ ไม่มีส่วนด้านหน้าของอาคาร
(กันสาด) เหมือนแบบดราวิเดียน ส่วนยอดโค้งขึ้นไปสู่ยอดและประดับด้วยอมาลกะ ที่มี
ื
รูปร่างคล้ายผลมะเฟอง และมียอดแหลมข้างบน ต่อมารูปร่างของศิขรนี้จะเรียวขึ้นและ
มักจะมีรูปจำลองอาคารนี้ประดับอยู่ตามด้านต่างๆ สถาปัตยกรรมแบบนี้พบมากในแคว้นโอ
ริสสา รัฐมหาราษฎร์ และทางตะวันตกของแคว้นเบงกอล แต่ก็ยังพบที่อินเดียใต้ด้วย เช่น ที่
34
ไอโหเล
2. ทางเข้าไปสู่ห้องครรภคฤหะหรือเรือนธาตุจะมีประตูเดียว ซึ่งภายในจะใช้เป็นที่
ประดิษฐานรูปเคารพของเทพเจ้า เช่น หากเป็นเทวาลัยในไศวนิกาย ภายในห้องครรภคฤหะ
จะประดิษฐานศิวลึงค์บนฐานโยนี เป็นต้น
3. ด้านหน้าของห้องครรภคฤหะจะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่เรียกว่า มหามณฑป
(Mahamandapa) ซึ่งจะมีทางเดินแคบๆที่เรียกว่า อันตะราละ (Antarala) เชื่อมต่อระหว่าง
สองส่วนนี้อยู่
4. ห้องครรภคฤหะจะมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
5. ที่ด้านหน้าของครรภคฤหะหรือมณฑปมักจะมีธวัช-สตัมภะ (Dhvajastambha)
เสานี้เป็นสัญลักษณ์ของมหาจักรพรรดิ ที่ยอดเสาประดับด้วยลัญฉนา (Lanchana -เครื่อง
แสดงยศศักดิ์) คือ สัญลักษณ์ที่ทำด้วยทองแดงหรือทองเหลืองในลักษณะคล้ายธง ลัญฉนานี้
32 S.P. Gupta. (2001). Elements of Indian Art. New Delhi: D.K. Printworld (P) Ltd., p. 11.
33 Swami Harshananda. (no date). All about Hindu Temple. Madras: Sri Ramakrishna Math Printing Press,
p. 5-6, อ้างถึงใน จิรัสสา คชาชีวะ, โบราณคดีอินเดีย, หน้า396.
34 จิรัสสา คชาชีวะ, โบราณคดีอินเดีย, 398.