Page 227 - 001
P. 227
216
ทิศตะวันตก) พระหัตถ์ถือดอกบัวเป็นเครื่องหมายของคำสัญญาแห่งชีวิตและการสร้างสรรค์
ี
พระพกตร์นี้อยู่ในรูปของ “วามะเทวะ” (Vamadeva) ซึ่งเป็นเทพผู้งดงาม ส่วนพระพกตร์
ั
ั
ทางด้านซ้าย (หันหน้าไปทางทิศตะวันออก)อยู่ในรูปของพระศิวะในปางอโฆระ (Aghora)
28
หรือ ไภรวะ (Bhairava) เครื่องหมายแห่งความสับสนวุ่นวายและการทำลาย ในขณะที่พระ
พกตร์ตรงกลางมีความเมตตา กรุณาปราณีและสงบ เปรียบได้กับผู้ปกป้อง พระศิวะในรูป
ั
ของตรีมูรติจึงสะท้อนให้เห็นว่า พระองค์เป็นได้ทั้งผู้ทำลายและผู้สร้างในเวลาเดียวกัน
ภาพที่ 64 ประติมากรรมมหาเทวะ
ที่มา: https://th.wikipedia.org/ [Online], accessed 14 May 2018.
ศาสนสถานกลางแจ้ง
สมัยคุปตะไม่ใช่สมัยแรกที่มีการก่อสร้างศาสนสถานกลางแจ้ง แต่หลักฐานส่วนใหญ่
ที่สร้างก่อนหน้าได้พงทลายไปหมดแล้ว ที่ยังหลงเหลืออยู่ส่วนใหญ่จะอยู่ในอินเดียภาค
ั
ตะวันตก ซึ่งพบว่าศาสนสถานสมัยคุปตะมักมีขนาดเล็ก มีหลังคาเรียบ มีการก่ออิฐไม่ฉาบปูน
ุ
ตัวอย่างที่สำคัญคือ ศาสนสถานที่เทวคฤหะ (Deogarh) มีอายุประมาณพทธศตวรรษที่ 11
(คริสต์ศตวรรษที่ 6) มีการใช้เดือยเหล็กเป็นตัวเชื่อมในการก่ออิฐ ที่ส่วนของห้องบูชามี
29
หลังคาโค้งสูง มีระเบียง (ทางเดิน) ที่มีหลังคาล้อมรอบอาคาร ทั้งนี้สามารถแบ่ง
สถาปัตยกรรมกลางแจ้งในช่วงนี้ออกเป็น 2 กลุ่มคือ อาคารอิฐ และอาคารหิน
28 Carmel Berkson, Wendy Doniger and George Michell. (1999). Elephanta: The Cave of Shiva. India: Shri
Jainendra Press, pp. 12-14.
29 จิรัสสา คชาชีวะ, โบราณคดีอินเดีย, หน้า 383.