Page 229 - 001
P. 229

218






























                                                  ภาพที่ 66 วัดลักษมัน
                   ที่มา: https://upload.wikimedia.org/ [Online], accessed 14 May 2018.

                          • อาคารหิน มีรูปแบบผัง 3 แบบด้วยกันคือ

                             1) ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น วิหารหมายเลข 17 ที่สาญจี เทวาลัยลาธขัน (Lad-
                   Khan) ที่ไอโหเล และศาสนสถานเทวคฤหะ ที่อาคารหินเริ่มเปลี่ยนหลังคาทรงเรียบเป็น

                   หลังคาโค้งสูง หรือที่เรียกว่าทรงศิขร สถาปัตยกรรมแบบที่มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและมี
                   หลังคาเป็นชั้นนี้ เป็นแบบหนึ่งที่แพร่ออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลายเป็นส่วน
                                                          31
                   สำคัญของสถาปัตยกรรม ขอม จาม และชวา
                             2) ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลายมน เช่น เทวาลัยทุรคาที่ไอโหเล
                             3) ผังรูปกากบาท เช่น ศาสนสถานที่ปหรรปุระ


                   สมัยราชวงศ์ต่างๆหลังราชวงศ์คุปตะ

                          ภายหลังจากที่ราชวงศ์คุปตะล่มสลายไปแล้ว บริเวณภาคเหนือของอินเดียไม่
                   สามารถรวมกันอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกันได้อีกต่อไป และได้เกิดอาณาจักรต่างๆทั่ว
                                                                      ื้
                   อินเดียอีกมากมาย อาณาจักรเหล่านี้ต่างผลัดกันแย่งชิงพนที่ กันอยู่ตลอดเวลา ถือว่าเป็น
                   ช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายอย่างแท้จริง ในส่วนที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมนั้นสามารถแบ่งได้
                   เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆคือ สถาปัตยกรรมแบบอินเดียเหนือและแบบอินเดียใต้ ซึ่งมีความ

                   แตกต่างกันในเรื่องรายละเอียดดังจะกล่าวถึงต่อไป
                                                    ุ
                          แม้ว่าในช่วงเวลานี้ศาสนาพทธจะยังคงรุ่นเรืองอยู่ แต่ก็เสื่อมลงอย่างมาก ส่วน
                   ศาสนาฮินดูยังได้รับความนิยมต่อเนื่องเรื่อยมา สถาปัตยกรรมฮินดูในยุคนี้จึงแสดงถึง

                   วิวัฒนาการและความโดดเด่นในหลายสกุลช่าง ทั้งนี้ ศาสนสถานฮินดูไม่ใช่เป็นเพียงสถานที่ที่
                   ใช้ประกอบพิธีกรรมเท่านั้น แต่มโนทัศน์หรือแนวคิด (concept) เกี่ยวกับเทวาลัยนั้น เป็นทั้ง


                          31  สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะอินเดีย, หน้า 109.
   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234