Page 453 - การศึกษาวิเคราะห์หนังสืออะกีดะฮฺ อันนาญีน ฟี อิลมฺ อุศูล อัดดีน ของชัยคฺ ซัยนฺ อัลอาบิดีน เบ็น มุฮัมมัด อัลฟะฏอนีย์
P. 453

431







                        อัลกุรอานได้ให้ความสําคัญกับวิชานี้เป็นอย่างมากหากได้ศึกษาจะพบว่าทุกหน้า
                       ของอัลกุรอาน ไม่มีหน้าใดที่ไม่กล่าวถึงเรื่องของอะกีดะฮ์ทุกหน้าจะกล่าวถึงเรื่องราวของการเชิญชวน

                       สู่การศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ต่อศาสนทูตของพระองค์ ต่อวันกียามะฮฺ ต่อบรรดามะลาอิกะฮ ฺ   ต่อบรรดา
                       คัมภีร์ของอัลลอฮ์ และต่อการกําหนดสภาวการณ์ ดังปรากฏในฮะดีษที่เศาะหีหฺท่านเราะสูลุลลอฮ์  

                       ได้กล่าวความว่า “เปรียบประหนึ่งความรักใคร่กลมเกลียวซึ่งกันและกันของผู้มีศรัทธาเปรียบประหนึ่ง

                       ว่าเป็นเรือนร่างเดียวกัน เมื่ออวัยวะส่วนใดร้องเรียนว่าเจ็บปวด ร่างกายทั้ง หมดก็จะพลอยเจ็บป่วยไป
                       ทั้งหมด” (บันทึกโดย  Muslim,  1996  :  4685) เช่นเดียวกันเชิญชวนการศรัทธาต่อสิ่งที่เร้นลับ เช่น

                       สวรรค์ นรก ศิร็อฏ เป็นต้น
                        จากความสําคัญของอะกีดะฮ์ข้างต้น เป็นป๎จจัยสําคัญที่นําไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับ

                       วิชาอะกีดะฮ์และการเขียนตําราอะกีดะฮ์นับตั้งแต่สมัยสะลัฟจนถึงป๎จจุบัน

                        บรรดาอุละมาอ์ในสมัยสะลัฟจะให้ความสําคัญต่ออะกีดะฮ์โดยการเรียน การสอน
                       และการแต่งตําราเพื่อเผยแผ่อะกีดะฮ์ของท่านนะบีมุฮัมมัด     เศาะฮาบะฮ์ ตาบิอีน ตาบิอฺตาบิอีน

                       และอัตบาอฺตาบิอฺตาบิอีน ผลงานตําราของบรรดาอุละมาอ์ในสมัยสะลัฟ  (Ἀbū  al-Qāsim,  1990  :

                       1/10-11) มีมากมาย เช่น อิมามอบู ฮะนีฟะฮ์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 150) ได้แต่งตําราชื่อ อัลฟิกฮฺ อัลอักบัร
                       อิมามอิบนุ อบี ชัยบะฮฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.   225) ได้แต่งตําราชื่อ อัสสุนนะฮ์และอัลอีมาน อิมาม

                       อับดุลลอฮ์ เบ็น มุฮัมมัด อัลญะอฺฟีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.   229) ได้แต่งตําราชื่อ กิตาบอัรร็อด อะลา
                       อัลญะฮฺมียะฮ์  อิมามอะฮมัด เบ็น หันบัล (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.   241) ได้แต่งตําราชื่อ อัรร็อด อะลา

                       อัลญะฮฺมียะฮ์ วะอัซซะนาดิเกาะฮฺ  อิมามอัลบุคอรีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.  256) ได้แต่งตําราชื่อ ค็อลกฺ

                       อัฟอาล  อัลอิบาด วะ อัรร็อด อะลา อัลญะฮฺมียะฮ์  อิมามอัลอะษะร็อม (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 273) ได้แต่ง
                                            ์
                       ตําราชื่อ กิตาบอัสสุนนะฮ  อิมามอบู อลี หันบัล เบ็น อิสฮากฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.  273) ได้แต่งตําราชื่อ
                       กิตาบ อัสสุนนะฮ์อิมามอบู ดาวูด (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.  275) ได้แต่งตําราชื่อ อัสสุนนะฮ์ อิมามอบู บักรฺ
                       อะฮมัด เบ็น อัมรู อัลบัศรีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.   277) ได้แต่งตําราชื่อ อัสสุนนะฮ์ อิมามอัดดาริมีย์

                       (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.280) ได้แต่งตําราชื่อ อัรร็อด อะลา อัลญะฮฺมียะฮ์ และอัรร็อด อะลา บิชรฺ อัลมุรีสี

                                                                                                    ์
                       อิมามอบู บักรฺ อะฮมัด เบ็น อลี อัลมัรวะซีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.  292) ได้แต่งตําราชื่อ อัสสุนนะฮ อิมาม
                       อบู อับดุลลอฮ์ อัลอับดีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 301) ได้แต่งตําราชื่อ อัสสุนนะฮ  ์

                        เช่นเดียวกันกับบรรดาอุละมาอ์ในสมัยเคาะลัฟ จะให้ความสําคัญต่ออะกีดะฮ์ไม่

                       แตกต่างจากอุละมาอ์ในสมัยสะลัฟ โดยการเรียน การสอน และการแต่งตําราเพื่อเผยแผ่อะกีดะฮ์
                       จะเป็นแนวทางสะลัฟหรือแนวทางเคาะลัฟ ตําราหรือหนังสืออะกีดะฮ์สามารถแยกออกเป็น 2

                       แนวทางดังนี้

                                     ก) หนังสืออะกีดะฮ์ตามแนวทางสะลัฟ อบู อัลกอสิม  (Ἀbū  al-Qāsim,  1990  :
                       1/10 - 11) ได้อธิบายว่า อุละมาอ์ยุคเคาะลัฟที่แต่งตําราตามแนวทางสะลัฟ เช่น  อิมามอิบนุ คุซัยมะฮ์
   448   449   450   451   452   453   454   455   456   457   458