Page 215 - 006
P. 215
204
ภาพที่ 50 ถ้ำอุทัยคีรี
ที่มา : https://upload.wikimedia.org/ [Online], accessed 14 May 2018.
• สถาปัตยกรรมถ้ำแถบฆาฏตะวันตก (Western Ghats) เป็นพนที่ที่อุดมไปด้วย
ื้
สถาปัตยกรรมถ้ำและแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของสถาปัตยกรรมถ้ำอย่างชัดเจน เริ่มสร้าง
ขึ้นในราวพทธศตวรรษที่ 4-5 (100 ปีก่อนคริสตกาล) ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์
ุ
ุ
ศาตวาหนะในราวพทธศตวรรษที่ 7-8 (คริสต์ศตวรรษที่ 2-3) ถ้ำที่มีชื่อเสียงได้แก่ ถ้ำภาชา
(Bhaja) โกนดาเน (Kondane) ปิตัลโขระ (Pitalkhora) อชันตา (Ajanta) และนาสิก
(Nasik) โดยพฒนาการของสถาปัตยกรรมถ้ำจะเริ่มจากการขุดถ้ำเข้าไปเป็นห้องรูป
ั
ิ่
สี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกับห้องด้านในรูปกลม ต่อมาจึงสร้างองค์สถูปไว้ตรงสุดทางเดิน และเพม
ื่
แนวเสาที่วนรอบองค์สถูป ทำให้เกิดเป็นช่องทางเดินเพอเวียนรอบองค์สถูป (ประทักษิณ)
22
แล้วเดินกลับมาอีกด้านหนึ่งของช่องทางเดินได้ ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะเฉพาะของพทธ
ุ
เจติยสถานของอินเดียตะวันตก ซึ่งตัวอย่างถ้ำเจติยสถานที่สำคัญคือ ถ้ำภาชา ซึ่งสร้างในราว
พุทธศตวรรษที่ 4-5 หรือ 100-70 ปีก่อนคริสตกาล
ในขณะที่ส่วนของถ้ำวิหารแถบฆาฏตะวันตกมีความเรียบง่าย มักจะประกอบไปด้วย
ห้องขนาดเล็กหลายห้องล้อมรอบห้องโถงกลาง โดยมีระเบียงเปิดโล่งด้านหน้า บางแห่งพบว่า
มี 2 ชั้น ภายในถ้ำวิหารจะมีเตียงที่สลักจากหินและบางครั้งพบว่ามีหมอนหินด้วย พระสงฆ์
อาจจะวางตะเกียงไว้ในช่องขนาดเล็ก (Niche) ที่เจาะเข้าไปในกำแพงได้ บางถ้ำยังพบว่ามี
ภาพสลักนูนต่ำซึ่งอาจแสดงเรื่องราวในชาดกด้วย
22 Upinder Singh. A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12th Century,
pp. 457-458.