Page 187 - 006
P. 187
176
์
ของสวยๆงามๆ และผลิตภัณฑที่สร้างขึ้นมาเพื่อชนชั้นนำเท่านั้น จากความต้องการดังกล่าวนี้
เองทำให้ช่างฝีมือในแขนงต่างๆได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี ซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่าง
ชัดเจนจากงานประเภทศิลปกรรมที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้
• ศาสนา ในช่วงเวลาการปกครองที่ยาวนานของอักบาร์นั้น ในระยะแรกพระองค์
สนับสนุนให้มีการให้ความรู้ในเรื่องศาสนาอิสลามในราชสำนักอย่างจริงจัง เห็นได้อย่างชัดเจน
คือ การก่อตั้งอิบาดัต-คานา (Ibadat-Khana) หรือ เรือนแห่งสักการะ (House of Worship)
ื่
โดยจุดประสงค์ที่สร้างขึ้นเพอใช้เป็นที่ชุมนุมของนักการศาสนาไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือ
การถามตอบด้านปรัชญาและเทววิทยาในศาสนาอิสลาม แต่ในความเป็นจริงกลับมีการกล่าว
11
ร้ายกันด้วยความหยาบคาย และไม่สามารถตอบคำถามบางอย่างให้พระเจ้าอักบาร์พึงพอใจได้
จากสิ่งที่เกิดขึ้นไม่สามารถตอบสนองจิตวิญญาณอันมีความอยากรู้อยากเห็นของพระองค์ได้
พระองค์จึงได้เชิญผู้รู้ในศาสนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักปรัชญาฮินดู นักบวชในศาสนาเชน นักบวช
ปาร์ซีแห่งโซโลเอสเตอร์ (Zoloaster) และมิชชันนารีในศาสนาคริสต์มายังเรือนแห่งสักการะ
การเรียนรู้ในศาสนาอื่นๆผ่านการสนธนาธรรมและถกเถียงกันเช่นนี้ ค่อยๆเป็นผลทำให้พระองค์
เป็นผู้ที่มีคตินิยมสรรผสาน (electicism) และประกาศใช้ศาสนาใหม่คือ ดิน-ไอ-อิลาฮี (Din-i-
12
Ilahi) ในเวลาต่อมา แต่ไม่ได้รับความนิยมนัก เนื่องจากพระองค์ไม่ได้บังคับให้คนเข้ารับศาสนา
ใหม่นี้แต่ดึงดูดไปที่ความรู้สึกภายในของมนุษย์
ศาสนาใหม่นี้เป็นการรวมความคิดจากหลายศาสนาเข้าด้วยกัน หลักสำคัญคือ มีพระเจ้า
องค์เดียว แต่ให้บูชาพระอาทิตย์ ดวงดาว และไฟได้ การบูชาเป็นเรื่องของบุคคลไม่ต้องมีผู้ทำพิธี
13
หรือคนกลางแต่อย่างใด และเนื่องจากศาสนาใหม่นี้ถือว่ากษัตริย์เป็นผู้นำสูงสุดและเป็น
สื่อกลางระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์ จึงทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจของอุลามา (Ulama)
หรือผู้รู้ในศาสนาอิสลาม เพราะทำให้อิสลามถูกลดความสำคัญลง
ความใจกว้างในเรื่องศาสนาของอักบาร์อาจมาจากการที่ในสมัยที่พระองค์ยังลี้ภัยอยู่ที่
ี
คาบุล ซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนในนิกายซูฟ (Sufi) และพระอาจารย์ของพระองค์คือ อับดุล ลาตีฟ
(Abdul Latif) เป็นผู้ที่ปลูกฝังความคิดในเรื่องเสรีนิยม (liberal) ให้พระองค์ตั้งแต่ยังทรงพระ
เยาว์ ประจวบกับการที่มีพระมเหสีองค์หนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากราชปุต ทำให้พระองค์ได้ติดต่อ
สัมพนธ์กับชาวฮินดู จึงก่อให้เกิดการยอมรับในศาสนาอื่นๆได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม ความ
ั
พยายามของอักบาร์ในการที่จะทำให้อินเดียมีเอกภาพโดยอาศัยศาสนาก็ไม่ประสบความสำเร็จ
นัก
ศาสนาซิกข์
คำว่า ซิกข์ เป็นภาษาปัญจาบี ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ศิษยะ และตรงกับภาษาบาลีว่า
สิกขะ แปลว่าศิษย์ หรือผู้ศึกษาเล่าเรียน ดังนั้น ชาวซิกข์จึงมีฐานะเป็นศิษย์ของคุรุหรือศาสดา
11 R.C. Majumdar. An Advanced History of India, p. 458.
12 คตินิยมสรรผสาน (electicism) เป็นแนวความคิดที่ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นในปรัชญาใดปรัชญาหนึ่งอย่างแน่วแน่ แต่จะดึงหลัก
ทฤษฎีหรือหลักในบางเรื่องมาใช้
13 สาวิตรี เจริญพงศ์. ภารตารยะ อารยธรรมอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงหลังได้รับเอกราช, หน้า 173.