Page 10 - 0018
P. 10
2
ดำเนินงานบริการวิชาการตามยุทธศาสตร์ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการให้บริการของแต่ละหน่วยงาน
ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะมีความแตกต่างกันออกไป จะขึ้นอยู่กับภารกิจของแต่ละหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่ง
กำกับอยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่มีหน้าที่และภารกิจหลักในการบริการวิชาการตามความต้องการ
ของหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ตลอดจนสังคมและชุมชน
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่มีภารกิจและ
้
บทบาทให้เป็นผู้นำ ชี้แนะ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและแกไขปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ (สามจังหวัดชายแดน
ใต้ และสี่อำเภอในจังหวัดสงขลา) โดยบูรณาการความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมผ่านเครือข่ายความร่วมมือของ
หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ที่มีภาระหน้าที่ในการบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม ถ่ายทอดองค์
ความรู้เทคโนโลยีที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมการเรียนรู้ตลอด
ชีวิต และยกระดับชุมชนเข้มแข็ง ผ่านเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ผ่านฝ่ายพัฒนานวัตกรรมบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่งในฝ่ายงานของสำนักเสริมและบริการ
วิชาการ ที่มีภารกิจในการพัฒนานวัตกรรมการบริการวิชาการโดยตรง ได้แก่ หลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ การนำ
เทคโนโลยีและองค์ความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรมของมหาวิทยาลัยถ่ายทอดสู่ชุมชน สังคม สร้างความเข้มแข็ง
ให้กับชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางในชุมชน ดำเนินการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอก
มหาวิทยาลัย ซึ่งการดำเนินงานบริการวิชาการ ด้านทักษะอาชีพ ในการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นหนึ่งในการ
รูปแบบการให้บริการตามกลุ่มที่ 7 คือ (7) การใหบริการวิชาการอื่น ๆ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
ว่าด้วยการใหบริการทางวิชาการ พ.ศ. 2551 ซึ่งการดำเนินงานมีความสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกันกับ
ภารกิจของฝ่ายงานฯ และเป็นแนวทางในการดำเนินงานบริการวิชาการด้านทักษะอาชีพในการแก้ไขความยากจน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กรณีตัวอย่างนำร่องการแก้ไขปัญหาความยากจน ภายใต้งานวิจัย ได้มีการกำหนดพื้นที่เพื่อดำเนินการ
โดยการนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านงานวิจัย มาถ่ายทอดนวัตกรรมสู่ชุมชน อีกทั้งยังมีการสอดประสานการ
ทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เริ่มทำงานแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ นั้นคือ ตำบลบ้านกลาง ด้วย
เพราะ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี อยู่ในกลุ่มรายชื่อหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 ของ
ื้
จังหวัดปัตตานี ในฐานข้อมูลของ จปฐ. และ กชช 2 ค และเมื่อสำรวจ บริบทของพื้นที่ตำบลบ้านกลาง มีพนที่ที่ติด
กับทะเล และมีพื้นที่ที่ไม่ติดทะเล เมื่อพิจารณาครัวเรือนกับเกณฑ์ดังกล่าว ในฐานข้อมูล พบว่า พื้นที่ไม่ติดทะเล
หมู่ที่ 5 ชุมชนบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาแระ จังหวัดปัตตานี มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 90 ครัวเรือน
คณะผู้วิจัยจึงเลือกศึกษากรณีตัวอย่างนำร่องเฉพาะกรณี ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาแระ จังหวัดปัตตานี โดยใช้
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการ
ปฏิบัติงานของชุมชนให้ดีขึ้น ซึ่งดำเนินการหลักโดยฝ่ายพัฒนานวัตกรรมบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี
และนำงานที่ปฏิบัติการมาวิเคราะห์ หาสาระสำคัญของสาเหตุที่เป็นปัญหา โดยใช้แนวคิดทางทฤษฎี ประสบการณ์
ของคนในชุมชน โดยมีกระบวนการของงานบริการวิชาการด้านทักษะอาชีพ ในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ในประเด็น ดังนี้
1. ศึกษาบริบทของพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐ
2. วิเคราะห์ปัญหาความต้องการที่จำเป็นและนำไปสู่การออกแบบการพัฒนาทักษะอาชีพร่วมกัน