Page 188 - 001
P. 188
177
ของศาสนาซิกข์ทุกองค์ ศาสนาซิกข์มีต้นกำเนิดอยู่ที่แคว้นปัญจาบ เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปลายสมัย
สุลต่านแห่งเดลี เมื่อเข้าสู่สมัยราชวงศ์โมกุล ศาสนาซิกข์ได้ปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ และ
ขนบธรรมเนียบประเพณีไปมากแล้ว ในปัจจุบันศาสนาซิกข์ ถือว่าเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมาก
เป็นอันดับ 3 ของอินเดีย รองลงมาจากฮินดูและอิสลาม
ผู้นำคนแรกของศาสนาซิกข์ คือ นานัก (Nanak) ผู้เป็นศิษย์ของกาบีร์ (Kabir) ชาวซิกข์
เชื่อว่านานักได้รับเลือกจากพระผู้เป็นเจ้าให้ถ่ายทอดคำสอนมายังมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็
ถ่ายทอดความศักดิ์สิทธิ์มาด้วย ผู้ที่อยู่ในฐานะนี้เรียกว่า “คุรุ” ศาสนาซิกข์เน้นความเป็น
เอกภาพและเอกลักษณ์ของบุคคล และเชื่อในเรื่องพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว โดยพระเจ้านั้น
มีลักษณะเป็นทั้งไม่มีตัวตนและมีตัวตน ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง พระเจ้าอยู่เหนือการ
เข้าถึงได้ แต่เมื่อเกี่ยวข้องกับการสร้างโลก พระองค์ก็มีตัวตน
เมื่อสิ้นคุรุนานัก ศาสนาซิกข์มีการสืบทอดตำแหน่งคุรุ ต่อมาอีกจำนวน 9 องค์ด้วยกัน
หลังจากนั้น ไม่ได้มีการแต่งตั้งใครเป็นศาสดาสืบทอดต่อมาอีก แต่ได้ถือเอาคัมภีร์ (ครันถะ) เป็น
ศาสดาสืบทอดแทนมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
คัมภีร์ของศาสนาซิกข์เรียกว่า ครันถะ สาหิบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) คัมภีร์อาทิ
ครันถ์ (Adi Granth) แปลว่าคัมภีร์แรก เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมคำสอนของคุรุรุ่นก่อนๆ ตั้งแต่คุรุ
นานักจนถึงคุรุอรชุน (Arjun) ซึ่งเป็นคุรุรุ่นที่ 5 และเป็นผู้จัดทำคัมภีร์นี้ขึ้น และ 2) คัมภีร์ทะสัม
ครันถ์ (Dasam Granth) แปลว่าพระคัมภีร์ที่ 10 จัดทำขึ้นโดยคุรุโควินท สิงห์ (Govind Singh)
ซึ่งเป็นคุรุรุ่นที่ 10 เนื้อหาประกอบไปด้วยคำสอนของคุรุรุ่นก่อนๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นคำสอนของ
คุรุโควินทสิงห์เอง
นอกจากนี้คุรุโควินท สิงห์ยังตั้งกฎปฏิบัติสำหรับสมาชิกใหม่ที่ผ่านพิธีพาหุล (Pahul) ซึ่ง
ิ
เป็นพธีรับสมาชิกใหม่ ให้ปฏิบัติตาม 5 ก. คือ 1) เกศ (Kes) คือ การไว้ผม หนวด เครา
โดยเฉพาะผมจะตัดไม่ได้ตลอดชีวิต 2) กังฆา (Khanga) จะต้องพกหวีติดตัวตลอด 3) กรา
(Kara) จะต้องมีมีดพกติดตัว (บางทีใช้กำไลเหล็กสวมข้อมือ) 4) กิรปาน (Kirpan) ดาบ
ประจำตัวสำหรับนักรบ 5) กางเกง (Kachh) จะต้องนุ่งกางเกงขาสั้นไว้ข้างในประจำ เพราะ
14
กางเกงขายาวไม่เหมาะกับการรบ
ิ
หากพจารณาดูแล้วจะพบว่าข้อปฏิบัติดังกล่าว ยกเว้นข้อ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการ
ป้องกันตนทั้งสิ้น การไว้ผมยาวมากๆ เมื่อม้วนเข้าไว้แล้วมีผ้าโพกก็เป็นเครื่องป้องกันศีรษะอย่าง
ดี การนุ่งกางเกงก็ทำให้การเคลื่อนไหวรัดกุม เพราะศัตรูอาจโจมตีได้ทุกเวลา จึงต้องแต่งตัวให้
พร้อมเสมอ ในขณะที่หวีนั้น เป็นสัญลักษณ์ในวัฒนธรรมที่หมายถึงความบริสุทธิ์ของใจ การกิน
เนื้อและดื่มสุราเป็นเรื่องที่อนุญาตให้ เพราะถือว่าทหารแข็งแรง แต่การสูบบุหรี่นั้นห้ามขาด
15
เพราะถือว่าเป็นสิ่งเสพติดและไม่เป็นประโยชน์อะไร
เนื่องจากถิ่นกำเนิดของคุรุนานักอยูที่แคว้นปัญจาบ ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ
อินเดีย ดังนั้น แคว้นปัญจาบจึงเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ศาสนาซิกข์ ในสมัยพระเจ้าอักบาร์
14 Lewis M. Hopfe and Mark R. Woodward. (2007). Religions of the World. New Jersey : Upper Saddle
river, p. 154.
15 สุริยา รัตนกุล. (2546). อารยธรรมตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย. นนทบุรี: บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, หน้า 179.