Page 185 - 001
P. 185

174


                   แก่พระองค์โดยตรง ได้แก่ 1) การคลังและภาษี 2)กองกำลังและข่าวกรอง 3) ยุติธรรมและการ
                                                     6
                   บำรุงศาสนา และ 4) สำนักพระราชวัง  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงตั้งระบบขุนนางที่เรียกกันว่า
                   “ระบบแมนสับดาร์” (Mansabdar) ประกอบด้วยขุนนาง 33 ชั้น โดยขุนนางดังกล่าวจะถูก
                                                                            ื
                   แบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ขุนนางชั้นที่ 1 จะสามารถใช้จ่ายฟมเฟอยและมีอภิสิทธิ์เหนือขุนนาง
                                                                        ุ่
                   ชั้นอื่น ทั้งในเรื่องเงินเดือน การถือครองที่ดิน และบรรดาศักดิ์  อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจในเรื่อง
                                                                         7
                   ระบบขุนนางอีกประการหนึ่งก็คือ มีข้าราชการเป็นชาวต่างชาติปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น

                   ชาวเปอร์เซีย ฮินดู และมุสลิม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์โมกุลไม่ได้ใช้ชั้นวรรณะมาแบ่งแยก
                   อาชีพเหมือนที่ชาวฮินดูเคยทำมาก่อน ดังนั้น แม้แต่ผู้ที่มีวรรณะต่ำสุดยังสามารถเข้ารับราชการ
                   ได้หากเป็นผู้ที่มีความสามารถ

                          ข้าราชการสมัยนี้ยังแบ่งเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายปกครองและฝ่ายเก็บภาษี
                   ข้าราชการฝ่ายปกครองจะอยู่ในระบบทหาร โดยแต่ละคนจะได้รับพระราชทานทหารให้อยู่ใต้

                   ปกครองตั้งแต่ 10-10,000 คน ตามแต่ละระดับชั้น และไม่มีการสืบทอดทางตระกูล ส่วน
                   ข้าราชการฝ่ายภาษีก็ทำหน้าที่เก็บภาษีชนิดต่างๆ ข้าราชการทั้ง 2 ฝ่ายจะถ่วงดุลอำนาจซึ่งกัน
                   และกัน กล่าวคือ ฝ่ายปกครองซึ่งอยู่ในระบบทหารจะไม่ได้คุมการเงินและเสบียง ทำให้ก่อการ

                   กบฏได้ลำบาก ส่วนฝ่ายภาษีนั้นควบคุมเฉพาะการเงินและเสบียง แต่ไม่มีกำลังทหาร จึงก่อกบฏ
                   ได้ยากเช่นกัน ด้วยวิธีการนี้ อำนาจของจักรพรรดิจึงมีความโดดเด่น ยากจะหาผู้ใดมาท้าทาย
                           8
                   อำนาจได้
                                                                                    ื้
                          • เศรษฐกิจ การคลัง และการค้า การที่จะสามารถควบคุมดูแลพนที่ขนาดใหญ่รวมถึง
                   กองทัพได้ดีนั้น จักรวรรดิต้องอาศัยการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจด้านต่างๆให้มีความสมบูรณ์

                   พร้อม ทั้งนี้ รายได้ที่เข้าสู่จักรวรรดิประกอบไปด้วย
                                 • ภาษีที่ดิน อักบาร์ได้นำระบบการจัดเก็บภาษีที่เชอร์ ชาห์ สุระได้วางรากฐาน

                   ไว้มาพัฒนาให้มีความเหมาะสมและรัดกุมมากยิ่งขึ้น โดยที่ดินในจักรวรรดิจะถูกสำรวจ วัดและ
                   แบ่งประเภทใหม่อย่างละเอียดโดยใช้คุณภาพของที่ดินและภาวะการเจริญงอกงามของพืชพนธุ์
                                                                                                   ั
                   ต่างๆเป็นเกณฑ์ รวมไปถึงลักษณะภูมิอากาศ โดยมีการบันทึกเกี่ยวกับราคาของผลิตผลแต่ละตัว

                                                                ื้
                                                                          ื้
                   ไว้ด้วย การจัดเก็บภาษีจะถูกประเมินจากแต่ละพนที่ หากพนที่ใดทำการเพาะปลูกไม่ได้ผล
                   เพราะธรรมชาติไม่เอื้ออำนวย ทางรัฐก็จะงดเว้นการเก็บภาษี ซึ่งระบบการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมี
                                                                      9
                   ข้อดีในระยะยาวและก่อให้เกิดความมั่งคั่งแก่ราชวงศ์โมกุล
                          ในขณะที่ฐานะของซามินทาร์ (Zamindar) หรือเจ้าผู้ครองที่ดิน (landlord) ในสมัย
                   สุลต่านแห่งเดลีเปลี่ยนไปในสมัยนี้ อักบาร์ปล่อยให้คนกลุ่มนี้เป็นอิสระ ซามินทาร์บางส่วนได้

                   กลายเป็นคนของขุนนาง ต่อมาจึงค่อยๆก่อร่างกลายเป็นพวกชนชั้นสูง อักบาร์ยังยินยอมให้คน






                          6  Richards, J.F. (1993). The Mughal Empire, The New Cambridge History of India. Cambridge: Cambridge
                   University Press, p. 58.
                          7  Burjor Avari. Islamic Civilization in South Asia, pp. 107-108.
                          8  สาวิตรี เจริญพงศ์. ภารตารยะ อารยธรรมอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงหลังได้รับเอกราช, หน้า 172.
                          9  Burjor Avari. Islamic Civilization in South Asia, p. 109.
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190