Page 192 - 001
P. 192
181
หนักกับพอค้าชาวอินเดียในเมืองท่าที่ตนควบคุมอยู่ มีการลักพาตัวเด็กชาวฮินดูและมุสลิม
่
ื่
เพอให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ รวมไปถึงการกีดกันในเรื่องศาสนา เหล่านี้ทำให้ราชวงศ์
โมกุลไม่พอใจมาก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อชาห์ เจฮานขึ้นครองราชย์จึงออกนโยบายปราบปรามชาว
23
โปรตุเกส โดยมอบหมายให้กาซิม อาลี ข่าน (Kasim Ali Khan) ข้าหลวงประจำแคว้นเบงกอล
ขับไล่ชาวโปรตุเกสออกนอกเมือง ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้มีคนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อีก
ส่วนหนึ่งก็ถูกนำตัวไปเป็นนักโทษที่อักรา ซึ่งชาห์ เจฮานได้เกลี้ยกล่อมให้คนกลุ่มนี้เปลี่ยนมานับ
ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งส่วนใหญ่จำเป็นต้องยอมเปลี่ยนศาสนา ยกเว้นพวกนักบวชที่ไม่ยอม
เปลี่ยนแปลงความเชื่อ จึงถูกจองจำ โบย และลงโทษประจานในที่สาธารณะ
ชาห์ จาฮานยังได้สร้างเมืองหลวงใหม่ ชื่อนครชาห์จาฮานนาบัด (Shahjahanabad)
หรือเมืองเดลีเก่านั่นเอง ในขณะที่เมืองอักราซึ่งเป็นเมืองหลวงเดิมเป็นสถานที่ก่อสร้าง
ทัช มาฮาล (Taj Mahal) สุสานหลวงที่ฝังพระศพของมเหสีมุมตัซ มาฮาล (Mumtaz Mahal)
สิ่งก่อสร้างรายการนี้ใช้ช่างฝีมือจากทั่วประเทศอินเดียและเอเชียกลาง ใช้ช่างฝีมือในการ
ก่อสร้างกว่า 20,000 คนด้วยกัน จุดเด่นของทัชมาฮาล การใช้หินอ่อนสีขาวในการก่อสร้าง มี
การฉลุลวดลายที่วิจิตรงดงาม ทำให้แตกต่างจากสถาปัตยกรรมที่อื่นๆในอินเดียในช่วงเวลา
เดียวกันที่นิยมก่อสร้างด้วยหินทราย โดยแบบแปลนของทัช มาฮาลเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้าน
ยาว (เหนือ-ใต้) ยาว 579 เมตร กว้าง 305 เมตร ตอนกลางเป็นสวนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีด้าน
กว้างด้านละ 305 เมตร ทางเข้าเป็นประตูหินทราย ทางด้านเหนือซึ่งเป็นสุสานอยู่ติดกับแม่น้ำ
มีการกั้นกำแพงบอกอาณาเขตทำด้วยหินทรายสีแดง โดยภายนอกกำแพงทางด้านทิศใต้มีตึกที่
24
เป็นส่วนรับใช้ เช่น คอกม้า และส่วนที่อยู่ของทหารรักษาการณ์ ความงดงามของทัช มาฮาล
ทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
นอกจากทัช มาฮาลแล้ว ในรัชสมัยของชาห์ จาฮานได้มีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่
งดงามอื่นๆอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นป้อมแดง (Red fortress) ที่อัครา (Agra) หรือมัสยิดจามา
ิ
(Jama Masjid) ซึ่งเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย บริเวณลานมัสยิดมีพื้นที่เพื่อให้คนเข้าร่วมพธี
ทางศาสนาได้หลายพันคนด้วยกัน ในขณะที่งานประณีตศิลป์ก็มีความโดดเด่น ยกตัวอย่างเช่น
25
บัลลังก์นกยูง (peacock throne) ที่ประดับด้วยเพชรนิลจินดาที่มีค่ามหาศาล เป็นต้น ทั้งนี้ ใน
ปลายรัชสมัย ชาห์ จาฮานถูกโอรังเซบซึ่งเป็นพระโอรสยึดอำนาจและจับพระองค์คุมขังไว้ที่ป้อม
อักราอยู่ถึง 8 ปี จึงสวรรคตในปีพ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666)
โอรังเซบ (Aurangzeb พ.ศ. 2201-2250 ; ค.ศ. 1658-1707)
โอรังเซบเป็นกษัตริย์ที่มีความแตกต่างจากชาห์ จาฮานผู้เป็นบิดาอย่างสิ้นเชิง โดยตลอด
ระยะเวลาที่ครองราชย์ยาวนานถึง 48 ปี มิได้ทรงสนพระทัยในเรื่องงานศิลปกรรมหรือ
สถาปัตยกรรมเฉกเช่นพระบิดาเลย โดยตลอดรัชสมัยของพระองค์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วง
ด้วยกัน คือ ช่วงแรกระหว่างปี พ.ศ. 2201-2224 (ค.ศ. 1658-1681) ทรงให้ความสนใจกับพื้นที่
23 R.C. Majumdar. An Advanced History of India, p. 472.
24 สุริยา รัตนกุล. อารยธรรมตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย, หน้า 174.
25 Richards, J.F. The Mughal Empire, The New Cambridge History of India, p.126.