Page 186 - 001
P. 186
175
กลุ่มนี้เข้าไปเป็นขุนนางในระบบแมนสับดาร์ และให้ที่ดินที่สืบต่อมาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นจากีร์
10
(Jagir) หรือศักดินาในการถือครองที่ดินสืบไป
• การค้า สินค้าเกษตรยังคงเป็นสินค้าหลักที่ค้าขายกันในระดับท้องถิ่น แต่อัก-
บาร์ก็ไม่ได้พอใจกับเพยงแค่การค้าขายในระดับท้องถิ่นเช่นนี้ ดังนั้น เหตุผลหนึ่งในการขยาย
ี
ื้
อาณาเขตไปสู่ดินแดนแถบคุชราต เบงกอล รวมไปถึงพนที่ที่เป็นชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกและ
ตะวันออก ก็เพื่อต้องการมีพื้นที่ออกสู่ทะเล เมืองท่าต่างๆไม่ว่าจะเป็นแคมเบย์ (Cambay) สุรัต
(Surat) ทะภล (Dabhol) ปุลิกัต (Pulicat) และมะสุลิปตัม (Masulipatam) ล้วนเป็นหน้าต่าง
ของอินเดียสู่โลกภายนอกทั้งสิ้น นอกจากนี้ การค้าในมหาสมุทรอินเดียก็คราคร่ำไปด้วยพอค้า
่
และนักเดินเรือมุสลิม แม้แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐต่างๆที่อยู่บนคาบสมุทรมลายูและหมู่
เกาะต่างเริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามแล้วในช่วงระยะเวลานี้ เช่น มะละกา ปัตตานี
ั
สมุทระ (Samudra) และปาไซ (Pasai) เป็นต้น ดังนั้น จึงมีความสะดวกและมีพนธมิตรในการ
เดินเรือออกไปค้าขาย อีกทั้ง การสามารถเข้าไปควบคุมเมืองท่ายังได้ประโยชน์จากภาษีศุลกากร
และค่าธรรมเนียมการจอดเรืออีกด้วย
สิ่งสำคัญอีกประกาศหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้คือ การเข้ามาค้าขายของชาวยุโรป
ุ
ตั้งแต่พทธศตวรรษที่ 22 (คริสต์ศตวรรษที่ 17) เป็นต้นไป พอค้าชาวยุโรปจากหลากหลาย
่
ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโปรตุเกส ดัชต์ บริติช และฝรั่งเศสได้เข้ามามีบทบาททางการค้าใน
มหาสมุทรอินเดียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโปรตุเกสที่ต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศไว้แต่เพียง
ผู้เดียว ในขณะที่ดัชต์และอังกฤษมีสายสัมพนธ์ที่เบาบางกับราชวงศ์โมกุลมาก ซึ่งแตกต่างจาก
ั
โปรตุเกส สินค้าหลักที่ดัชต์และอังกฤษต้องการจากอินเดียคือผ้าฝ้ายอินเดีย เพราะสามารถขาย
ได้กำไรมากในยุโรป อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลานี้ กองทัพเรือจากยุโรปยังไม่มีทีท่าข่มขู่อินเดียแต่
อย่างใด ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเริ่มขึ้นตั้งแต่พทธศตวรรษที่ 23 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18
ุ
เป็นต้นไป
• การคลัง รายได้ที่มาจากภาษีที่ดิน ของบรรณาการ ค่าธรรมเนียม ภาษีจาก
การค้าทั้งสินค้า ส่งออกและสินค้านำเข้า ทั้งหมดนี้จะถูกส่งเข้าคลังในรูปของเงินสด ทั้งเหรียญ
เงินและทองแดง โดยมีหน่วยเป็นแดมส์ (dams) ประมาณ 40 แดมส์จะเท่ากับ 1 เหรียญเงินรูปี
ในปัจจุบัน ภาษีทั้งหมดจะถูกนำไปใช้อย่างมหาศาลกับกองทัพและราชวงศ์ โดยในปี พ.ศ. 2138
(ค.ศ. 1595) รัฐสามารถจัดเก็บรายได้เป็นจำนวนเงิน 3,960 ล้านแดมส์ 3,238 ล้านแดมส์ถูกใช้
เป็นเงินเดือนและค่าตอบแทนข้าราชการในระบบแมนสับดาร์ 359 ล้านแดมส์ถูกใช้กับกองทัพ
ส่วนกลาง และ 187 ล้านแดมส์สำหรับสำนักพระราชวัง ส่วนที่เหลืออีก 176 ล้านแดมส์เข้าสู่
ั
พระคลังสมบัติ ไม่มีส่วนใดเลยที่รัฐจะนำไปใช้เพอพฒนาสาธารณูปโภคด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ
ื่
การศึกษา สวัสดิการสังคม หรือการขนส่ง ภาษีทั้งหมดทั้งมวลถูกนำไปใช้ในการบำรุงบำเรอ
กองทัพและระบบข้าราชการ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในบันทึกชาวต่างชาติจะกล่าวว่าผู้คนส่วนใหญ่มี
ฐานะยากจน ทั้งๆที่กลุ่มคนเหล่านั้นเป็นกลุ่มผู้ผลิตอาหารผู้จุนเจือคนทั้งประเทศ ในทาง
กลับกัน ชนชั้นสูงและกลุ่มข้าราชการในระบบแมนสับดาร์ต่างสมบูรณ์พูนสุข จนมีความต้องการ
10 จากีร์ถูกนำมาใช้เป็นค่าตอบแทนขุนนางแทนเงินเดือนที่ต้องใช้เงินสด