Page 182 - 001
P. 182

171


                                        ้
                                  ่
                   หุมายันเป็นฝ่ายพายแพและต้องลี้ภัยไปพำนักที่เปอร์เซียนานถึง 15 ปี จึงเสด็จกลับอินเดียในปี
                   พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555)
                          หลังจากมีชัยเหนือหุมายันได้แล้ว เชอร์ ชาห์ สุระ ได้สถาปนาราชวงศ์สุระ (Sur
                   Dynasty) ขึ้น แต่ราชวงศ์นี้มีอายุเพยง 15 ปี (พ.ศ. 2083-2098 : ค.ศ. 1540-1545) โดยเชอร์
                                                   ี
                   ชาห์ สุระปกครองได้ 5 ปี (พ.ศ.2083-2588 : ค.ศ. 1540-1545) และอิสลาม ชาห์ ซึ่งเป็น
                   พระโอรสปกครองได้ 10 ปี (พ.ศ. 2088-2098 : ค.ศ. 1545-1555) แต่แม้จะเป็นช่วงระยะเวลา

                   สั้นๆ พระองค์ก็นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบบการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่อง
                   ของการเก็บภาษีที่ดิน พระองค์โปรดให้เจ้าหน้าที่ทำการรังวัดที่ดิน แบ่งที่ดินออกเป็นส่วนๆ แล้ว
                   กำหนดให้ชาวนาเสียภาษีตามจำนวนที่แน่นอนให้แก่กษัตริย์ โดยเก็บจากหนึ่งในสามของรายได้

                   ทั้งหมด ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเก็บเพิ่มอีกไม่ได้ ระบบและอัตราการเก็บภาษีดังกล่าวนี้ได้รับการยึดถือ
                   เป็นแนวปฏิบัติสืบต่อกันมาในสมัยราชวงศ์โมกุล

                          นอกจากนี้ เชอร์ ชาห์ สุระ ยังโปรดให้ปรับปรุงการคมนาคมโดยการสร้างและขยาย
                   ถนนเดิมจากแคว้นเบงกอลไปยังอัฟกานิสถานเป็นระยะทางประมาณ 2000 ไมล์ ตามเส้นทาง
                                       ั
                   การเดินทางให้สร้างที่พกคนเดินทางทุกๆหนึ่งไมล์ครึ่ง โปรดให้ขุดบ่อน้ำและปลูกผลไม้ตามข้าง
                   ทาง ให้ใช้ม้าเร็วเพอช่วยในการติดต่อสื่อสาร ทั้งให้ความปลอดภัยแก่การขนส่งสินค้าและ
                                    ื่
                   ทรัพย์สินของพ่อค้า ฉะนั้น เมื่อการคมนาคมสะดวกและได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยจากรัฐ

                   การค้าจึงขยายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ พระองค์ยังจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น การศาล และการ
                   สาธารณสุขให้เป็นระเบียบ ผลงานต่างๆของพระองค์ถือเป็นรากฐานการปกครองอินเดียในเวลา
                        4
                   ต่อมา
                          อิสลาม ชาห์ (Islam Shah) เป็นโอรสผู้สืบทอดต่อจากเชอร์ ชาห์ สุระ แต่พระองค์ก็อยู่
                                ี
                   ในบัลลังก์ได้เพยง 10 ปี ก็ถูกหุมายันพร้อมทั้งกองทัพเปอร์เซียเสด็จกลับมายึดอำนาจคืน แต่
                   หุมายันก็ปกครองอินเดียต่อมาได้อีกเพียง 6 เดือนเท่านั้น ก็เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ.
                   1556) พระเจ้าอักบาร์ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ซึ่งขณะนั้น พระองค์
                                    ี
                   เพิ่งมีพระชนมายุเพยง 14 พรรษาเท่านั้น ไพรัม ข่าน (Bairam Khan) จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จ
                   ราชการ เมื่อพระเจ้าอักบาร์มีพระชนมายุ 20 พรรษาจึงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลโดย
                   สมบูรณ์ รัชสมัยของพระเจ้าอักบาร์ถือเป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองที่สุดในราชวงศ์โมกุล ดังจะกล่าวใน

                   รายละเอียดต่อไป ต่อจากรัชสมัยของพระเจ้าอักบาร์แล้วคือ ชาหันคีร์ (Jahangir : พ.ศ. 2148-
                   2170; ค.ศ. 1605-27) ชาห์ จาฮัน (Shah Jahan: พ.ศ. 2171- 2201; ค.ศ. 1628-58) และ  โอ
                   รังเซบ (Aurangzeb : พ.ศ. 2202- 2250; ค.ศ. 1659-1707) ตามลำดับ เมื่อหมดรัชสมัยของโอ

                   รังเซบแล้ว จักรวรรดิโมกุลที่ยิ่งใหญ่ก็เสื่อมลง


                   อักบาร์มหาราช (Akbar the Great พ.ศ. 2099-2148 ; ค.ศ. 1556 -1605)
                          อักบาร์ถือกำเนิดขึ้นในระหว่างที่พระราชบิดาลี้ภัยอยู่ที่คาบุลและเปอร์เซีย อีกทั้ง
                   พระองค์ยังทรงขึ้นครองราชย์ขณะที่ยังทรงพระเยาว์ คือ มีพระชันษาเพียง 14 พรรษาเท่านั้น




                          4  สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณ และศุภวรรณ ชวรัตนวงศ์. อินเดีย : อดีต-ปัจจุบัน, 116.
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187