Page 179 - 001
P. 179

168


                   1 ส่วน 4 ของวะระหะเรียกว่าฟะนัม (fanams) มีน้ำหนักอยู่ที่ราว 5.5 เกรน หน่วยที่เล็กที่สุด

                   ของเหรียญทองคือ จิตัล (jital) 100 จิตัลเท่ากับ 1 วะระหะ
                           ตัวเหรียญเองจะทำเป็นรูปเทพ เทพี และสัญลักษณ์ต่างๆตามที่กษัตริย์แต่ละพระองค์
                   จะนับถือ ดังเช่น ในสมัยแรกเริ่ม เหรียญจะเป็นรูปครุฑและหนุมาน สมัยพระเจ้าหริหระที่ 2

                   เปลี่ยนมาเป็นรูปพระลักษมีนารายนะ (Lakshmi Narayana) หรือรูปพระวิษณุประทับเคียงข้าง
                   พระลักษมี ในขณะที่สมัยพระเจ้าทวะรายาที่ 2 กลับทำเป็นรูปอุมามเหศวรหรือรูปพระศิวะและ

                   พระอุมาประทับนั่งอยู่บนโคนนทิ ส่วนตัวอักษรนั้นจะใช้ 3 แบบด้วยกัน คือ นาคารี (Nāgāri
                   script) กันนะทะ (Kannada) และเตลุคุ (Telugu)
                           • ศาสนา อาณาจักรวิชัยนครเป็นอาณาจักรของชาวฮินดูโดยแท้จริง ลัทธิไศวนิกาย

                   และไวษณพนิกายเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งในอาณาจักรแห่งนี้ อย่างไรก็ดี กษัตริย์แห่งวิชัยนคร
                   ก็มีน้ำพระทัยกว้างขวางไปถึงศาสนาอื่นๆด้วย เช่น ศาสนาเชน ที่กษัตริย์หลายพระองค์ให้การ

                   สนับสนุนและช่วยเหลือในการสร้างศาสนสถาน และแม้ว่ากษัตริย์แห่งวิชัยนครจะต่อสู้กับแคว้น
                   มุสลิมต่างๆ แต่พระองค์ก็ให้เกียรติศาสนาอิสลาม และให้อิสระแก่ทหารมุสลิมในกองทัพของ
                   พระองค์ พระเจ้าเทวะรายาที่ 2 ยังได้สร้างมัสยิดเพื่อให้ชาวมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจในเมือง

                   หลวง อย่างไรก็ดี การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในขณะนั้น
                   แฝงจุดประสงค์ทางการเมืองเอาไว้ กษัตริย์จึงไม่ทรงอนุญาตให้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเมืองหลวง
                            25
                   แต่อย่างใด
                           • วรรณกรรม ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์แห่งวิชัยนคร นักกวี นักปราชญ์ นักการ
                   ศาสนาได้ผลิตงานในภาษาสันสกฤตออกมาเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ในส่วนภูมิภาคก็มีงานใน

                   ภาษาเตลุคุ กันนะทะ และทมิฬออกมาเช่นเดียวกัน


                           การล่มสลายของอาณาจักรวิชัยนครเกิดจากการขยายอำนาจของรัฐมุสลิม อย่างไรก็ดี
                   นอกจากวิชัยนครแล้ว ยังปรากฏแคว้นฮินดูอื่นๆอีกในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกัน ได้แก่ แคว้น
                                                                        26
                   โหยสฬะ (Hoysalas) แคว้นโอริสสา (Osissa) แคว้นเมวาระ  (Mewar) แคว้นอัสสัม (Assam)
                   และแคว้นเนปาล (Nepal) แคว้นเหล่านี้บางแคว้นมีช่วงการดำรงอยู่ในช่วงเวลาอันสั้น ดังนั้น จึง
                   ไม่สามารถสืบทอดวัฒนธรรมฮินดูเฉกเช่นวิชัยนครเอาไว้ได้

                           ในขณะที่เอกภาพทางการเมืองของอาณาจักรมุสลิมทางภาคเหนือก็เริ่มสลายลงตั้งแต่
                    ุ
                   พทธศตวรรษที่ 21 (คริสต์ศตวรรษที่ 15-ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) อินเดียอยู่ในสภาพแตกแยก
                   ออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย โดยแยกการปกครองเป็นอิสระจากสุลต่านแห่งเดลี บริเวณภาคเหนือ

                   และภาคตะวันตกแยกออกเป็นรัฐมุสลิมถึง 8 รัฐ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้านตะวันออกแคว้น
                   เบงกอลก็แยกตัวออกมาเป็นอิสระ ส่วนในเขตที่ราบสูงภาคกลางด้านตะวันตก ได้แก่ แคว้น

                                  ิ
                   คุชราต มัลวะ พหาร และที่ราบสูงเดคข่าน ก็ถูกต่อต้านจากชาวฮินดูซึ่งมีความรู้สึกชาตินิยม
                   อย่างเหนียวแน่น ดังนั้น อำนาจของสุลต่านแห่งเดลีในพุทธศตวรรษที่ 21 (คริสต์ศตวรรษที่ 16)
                   จึงจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะดินแดนปัญจาบตะวันออกและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาเท่านั้น



                          25  Durga Prasad. History of the Andhras upto 1565 A.D., pp. 266-267.
                          26  แคว้นนี้เป็นการรวมตัวกันของพวกราชปุตเป็นสมาพันธรัฐโดยมีตระกูลเมวาระเป็นผู้นำ
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184