Page 9 - e004
P. 9

2


             การพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้น (Upskills) และการสร้างทักษะ
             ใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน (Reskills) เพื่อฝึกฝน เพิ่มพูน และพัฒนา

             ทักษะที่จำเป็นเหล่านี้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
             ขณะเดียวกัน องค์กรก็มีการปรับตัวในลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้
             (Learning Organization: LO) ด้วยเช่นกัน

                    นอกจากนี้ องค์การในยุคดิจิทัลที่มีข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก
             ซึ่งมาจากหลากหลายช่องทาง ทำให้ผู้คนมีข้อจำกัดในการที่จะรับรู้ข่าวสาร
             ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ ด้วยเหตุนี้ องค์การสมัยใหม่จึง
             จำเป็นต้องมีการจัดการความรู้ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้อย่างเป็นระบบเพื่อให้
             สามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องส่วนตัว การเรียน และ

             การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
                    สำหรับองค์ความรู้เกี่ยวกับ “นวัตกรรมการจัดการ” ก็เช่นกัน มี
             การนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้มากมาย เนื่องจาก “การจัดการ” เป็น

             สาขาวิชาที่มีความนิยมแพร่หลายทั้งในแวดวงธุรกิจและราชการ ดังปรากฏ
             ในแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการจัดการ จะอยู่ในรูปของ
             กระบวนการ สอดคล้องกับทฤษฎีระบบ (System Theory) ซึ่งนิยม
             แพร่หลายจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
                    ทั้งนี้ คำว่า “นวัตกรรม” ซึ่งเป็นคำที่มีการกล่าวถึงกันมากใน

             ประเทศไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีการตั้ง National Innovation
             Agency ตามด้วย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ
             นวัตกรรม ซึ่งจะว่าไปแล้ว คำนี้มีการใช้กันมาก่อนหน้านี้ในต่างประเทศ

             รวมถึงในแวดวงการวิทยาศาสตร์ก็มีมานานแล้วเช่นกัน แต่สำหรับทางด้าน
             สังคมศาสตร์ยังคงเป็นความแปลกใหม่ที่นักวิชาการกำลังค้นหาคำตอบที่
             จะก้าวไปให้ถึง โดยเฉพาะนวัตกรรมการจัดการ ซึ่งในรายวิชา นวัตกรรม
             การจัดการ ที่เผยแพร่บน PSU-MOOC ผู้วิจัยได้ค้นคว้า รวบรวมและ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14