Page 26 - SolarManBook_merged-1
P. 26
EP. 6 ฐานที่ 4 ระบบออนกริดโรงรถ
โซลาร์ศาสตร์ EP. 6
ฐานที่ 4 ระบบออนกริดโรงรถ
https://youtu.be/DxEpwTKVQeA
สถานีที่ 4 ระบบโซลาร์เซลล์ออนกริดบนหลังคาโรงจอดรถและระบบรถสามล้อ
ไฟฟ้า ปกติแล้วถ้าต้องการจะผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์จะมีได้หลาย
แบบ รูปแบบหนึ่งที่สำคัญ คือ การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จากหลังคาบ้านแล้วนำมา
ต่อเข้ากับไฟฟ้ากระแสสลับในบ้านเรือนแล้วใช้งานไฟฟ้าได้เลย คือ ผลิตแล้วใช้เลย
เรียกว่า ระบบออนกริด (On-Grid System) ที่ต่อเชื่อมกับสายส่งด้วยสามารถจะผลิต
ไฟฟ้าใช้ในบ้านโดยที่ไฟจากตัวแผงโซลาร์เซลล์ก็ต่อเข้าไปในตัวกริดไทน์อินเวอร์เตอร์
(Grid Tie Inverter) สุดท้ายแล้วก็ผลิตไฟฟ้าไปเชื่อมต่อกับไฟในบ้านที่มีอยู่แล้วจากสาย
ส่ง นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นระบบออนกริด ส่วนสำหรับของแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาที่
จอดรถของสำนักวิทยบริการนี้ก็จะมีอยู่ประมาณ 80 แผ่น แผ่นหนึ่งมีกำลังการผลิตติดั้ง
ที่ 200 วัตต์ รวมกันจะได้ประมาณ 16,000 วัตต์ คือใน 1 ชั่วโมงสามารถผลิตไฟฟ้าได้
สูงสุดประมาณ 16 หน่วยไฟฟ้า หรือ 16 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงเมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบ
ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยแผงโซลาร์เซลลเชื่อมต่อเข้ากับอินเวอร์เตอร์ขนาด 20 กิโลวัตต์
หมายความว่า Inverter จะมีขนาดใหญ่กว่าที่แผงมี คือ มีแผง อยู่ 16 กิโลวัตต์ และมี
ตัว Inverter 20 กิโลวัตต์ สามารถที่จะต่อใช้ได้ หรือในครั้งแรกจะลงทุนให้ง่าย ๆ เพยง
ี
มีแผงกำลังผลิตติดตั้งเพียง 5 กิโลวัตต์ต่อเชื่อมเข้าไปในระบบ หลังจากนั้นถ้าต้องการจะ
เพิ่มเติมขึ้นก็สามารถจะซื้อแผงเพิ่มได้ แต่ต้องพิจารณาว่าระบบไฟเป็นแบบเฟสเดียว
หรือ 3 เฟส ถ้าเป็น 3 เฟสจะต้องมีชุดสตริงของตัวแผงออกมาเป็น 3 ชุด แล้วจ่ายเข้า
ระบบเพื่อที่จะผลิตไฟเข้าเป็น 3 เส้น หรือ 3 สตริง ปกติ 1 กิโลวัตต์ ถ้าติดตั้ง 1000
วัตต์บนหลังคาโดยใช้ระบบออนกริด การผลิตไฟฟ้าวันหนึ่งประมาณ 4-6 หน่วย ขึ้นอยู่
25