Page 23 - SolarManBook_merged-1
P. 23
โซลาร์ศาสตร์ฉบับคนกินแดดชายแดนใต้
สำหรับระบบการหมุนตามตะวันของสำนักวิทยบริการได้เลือกแบบที่หมุนตาม
ตะวันแบบใช้นาฬิกาตั้งเวลา เช่น ทุก ๆ ชั่วโมง จะหมุน 1 ครั้ง จะวางแผนการปรับหมุน
ว่ากี่วินาทีจะทำให้แผงตั้งฉากกับดวงอาทิตย์พอดี แต่จริง ๆ การวางแผนให้หมุนตาม
ตะวันสามารถทำได้หลายรูปแบบ อาจจะมีเซนเซอร์แบบตั้งเป็นสามเหลี่ยมวางแผง
โซลาร์เซลล์ทั้งสองฝั่งและในแนวนอนทั้งหมดวางแผงโซลาร์เซลล์แผงใหญ่ และมี
เซนเซอร์ เช่น แผง 5 วัตต์ แล้วออกแบบให้สามารถหมุนตามดวงอาทิตย์
ถ้าดวงอาทิตย์อยู่ด้านไหนก็ให้แผงหมุนไปรับแสงด้านนั้นแล้วจึงหยุด ถ้าดวง
อาทิตย์ขึ้นไปทางเหนือมากขึ้นแผงจะหมุนตาม หมายความว่าจะเน้นตัวแรงดัน (โวลท์)
ด้านซ้ายกับแรงดันด้านขวาให้เท่ากันจึงจะหยุดหมุน ถ้าด้านหนึ่งน้อย ด้านที่ได้รับแสง
จากดวงอาทิตย์เยอะกว่าจะได้รับแสงเยอะกว่าอีกฝั่งหนึ่งที่เป็นฝั่งเงาแสงแผงก็จะทำ
การหมุนไปจนได้โวลท์เท่ากันจึงจะหยุดทำงาน แต่ถ้าวันหนึ่งมีเมฆมากจะไม่รู้ว่าดวง
อาทิตย์อยู่ตรงไหนระบบจะวิ่งหาแสงอาทิตย์เอง แต่ถ้าใช้สองระบบนี้คู่กันถ้าไม่เจอ
แสงอาทิตย์ก็จะใช้วิธีการหมุนตามตะวันแบบนาฬิกาแบบตั้งเวลา บางทีถ้าทำแบบง่าย
ๆ แบบชาวบ้าน เรียกว่า หมุนตามตะวันแบบอัตโนมือ อัตโนมือหมายความว่า ใน 1 วัน
ทำการหมุนแค่ 3 เวลา พอดวงอาทิตย์ส่องมาในตอนเช้าออกแบบให้แผงตั้งฉากหันไป
รับแสงดวงอาทิตย์ด้านทิศตะวันออก พอตอนเที่ยงหมุนแผงตั้งแบบแนวราบ ตอนเย็น
หมุนไปรับแสงอาทิตย์อีกฝั่งหนึ่งด้านทิศตะวันตก ตอนกลางคืนหมุนกลับมาเป็น
แนวราบ
ถามว่าทำไมกลางคืนจึงตั้งไว้ในแนวราบ เป้าหมายคือ กรณีที่มีลมพัดแรงใน
ิ่
ตอนกลางคืนแผงจะไม่ต้านลม เพราะฉะนั้นต้องวางแผนให้ดี ถ้าต้องการจะเพม
ศักยภาพให้กับแผงสามารถออกแบบให้ใช้วิธีการหมุนตามตะวันซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่
น่าสนใจ การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแผงโซลาร์เซลล์ให้ผลิตไฟฟ้าได้ดีมากที่สุดจริง ๆ
ต้องไปทำแบบลอยน้ำและหมุนตามตะวันด้วย พอเกิดความร้อนก็นำน้ำในสระมากรอง
22