Page 22 - SolarManBook_merged-1
P. 22
EP. 5 ฐานที่ 3 ชุดโซลาร์เซลล์แบบหมุนตามตะวัน
โซลาร์ศาสตร์ EP. 5
ฐานที่ 3 ชุดโซลาร์เซลล์แบบหมุนตามตะวัน
https://youtu.be/v_Ct6OhzWww
สถานีการเรียนรู้ที่ 3 ชุดโซลาร์เซลล์หมุนตามตะวัน ทำไมต้องหมุนตามตะวัน?
ซึ่งจริง ๆ แล้วแผงโซลาร์เซลล์จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อความเข้มของแสงตกกระทบไปที่
แผงมากที่สุด หมายความว่าถ้าแผงหันหน้าไปตั้งฉากกับแสงอาทิตย์จะทำให้การผลิต
ไฟฟ้าได้ดีมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ถ้าแผงโซลาร์เซลล์ที่หันตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมา
พอดีก็จะทำให้แผงผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุด ในขณะเดียวกันถ้าแผงผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุด
หมายความว่าจะเกิดความร้อนขึ้นด้วยเช่นกัน
ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ต้องระบายด้วยน้ำแต่ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่เพียงแค่ชี้ให้เห็น
ว่าถ้าความร้อนเพิ่มขึ้นจะทำให้การผลิตไฟฟ้าอาจจะลดลงได้ แต่เปอร์เซ็นต์ไม่ได้เยอะ
มาก เช่น ถ้าอุณหภูมิเพิ่มจาก 25 องศาเซลเซียส เปลี่ยนไปเป็น 50 องศาเซลเซียส
อัตราการลดเปอร์เซ็นต์ของการผลิตไฟฟ้าประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ อย่างเช่นปกติแผง
ผลิตได้ 10 แอมป์อาจจะลดเหลือ 9 แอมป์ อาจจะหายไปประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ
อุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณ 25 องศาเซลเซียส นี้จะเป็นตัวอย่างหนึ่งที่อาจจะใช้ในการ
พิจารณา เพราะฉะนั้นการหมุนตามตะวันนี้จะพบว่า ถ้าในภาวะปกติติดตั้งแผงแบบยึด
ตายตัว ใน 1 วัน ติดตั้งแผง 1,000 วัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 4.5 หน่วย แต่
ถ้าทำให้แผงหมุนตามตะวันอาจจะผลิตได้ประมาณ 6 หน่วย ถึง 6.5 หน่วย จะเห็นได้ว่า
เพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่งซึ่งเยอะขึ้นเลยทีเดียว ทำให้ไม่จำเป็นต้องซื้อแผงจำนวนมาก
จนเกินไป ทำให้สามารถลดงบประมาณได้ด้วย แต่อาจจะไปเสียงบประมาณในการ
ออกแบบให้หมุนตามตะวันได้
21