Page 98 - 006
P. 98

87


                          อย่างไรก็ดี แม้ระบบการปกครองของโมริยะจะค่อนข้างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังคงมี

                   จุดอ่อนในตัวเอง กล่าวคือ ระบบราชการของจักรวรรดิโมริยะถูกควบคุมจากศูนย์กลางมาก
                   เกินไป และอาศัยความสัมพนธ์ส่วนตัวและความจงรักภักดีต่อกษัตริย์เป็นสำคัญ ซึ่ง
                                               ั
                            ั
                   ความสัมพนธ์รวมไปถึงความจงรักภักดีดังกล่าวจะแปรเปลี่ยนไปตามตัวบุคคล ดังนั้น เมื่อสิ้นสุด
                   รัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช จักรวรรดิโมริยะที่เคยรุ่งเรืองจึงเสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว
                   และล่มสลายลงไปในที่สุด


                          2.  สังคมและการศึกษา ในคัมภีร์กาลามสูตรได้กล่าวว่าวิถีชีวิตแบบชาวเมืองของพวก
                   อินโด-อารยันในอินเดียได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยจักรวรรดิโมริยะนี่เอง  ชาวเมืองหรือที่
                                                                                      18
                   เรียกว่า “นาคริกะ” (nagrika) ใช้ชีวิตกันอย่างสะดวกสบายภายในนครขนาดใหญ่ในยุคนี้ เป็น
                   ต้นว่า ตักษิลา อุชเชนี โกสัมพ และปาฏลีบุตร การแต่งกายของผู้คนจะนิยมใช้ผ้าไหมและผ้า
                                              ี
                   ฝ้าย เครื่องแต่งกายท่อนบนจะบ่งบอกถึงความมั่งคั่งและชาติตระกูลของแต่ละบุคคล ชาวเมือง
                   มักจะออกกำลังกายกันอย่างเสมอ ส่วนอาหารที่รับประทานจะเป็นข้าวเจ้าและข้าวสาลี นม
                   เนื้อสัตว์ รวมทั้งเหล้าและของหวาน โดยรับประทานอาหารวันละ 2 มื้อ ชาวเมืองใช้ชีวิตอย่าง

                   สนุกสนาน ชอบงานมหกรรม ดนตรีและการเต้นรำ อย่างไรก็ดี อาชีพนักดนตรีและนักเต้นรำ
                   กลับเป็นอาชีพของชนชั้นต่ำในสังคม นอกจากนี้ประชาชนยังชอบเล่นการพนันและการแข่งขัน

                   ต่างๆ การพนันมีอย่างแพร่หลายทั้งในเมืองและชนบท พวกหนุ่มๆชอบกีฬาล่าสัตว์ ว่ายน้ำ พาย
                   เรือ เป็นต้น
                             19
                          ทางด้านการศึกษาในสมัยนี้ก็มีความเจริญก้าวหน้า สำนักศึกษาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สำนัก

                   ตักษิลา อุชเชนี และพาราณสี ครูอาจารย์ส่วนใหญ่ได้แก่ พระสงฆ์ในพทธศาสนาที่ตั้งโรงเรียน
                                                                                 ุ
                   ขึ้นในวัด วิชาที่เปิดสอน คือ การเขียน การอ่าน ศาสนา ไวยากรณ์ วาทศิลป์ เศรษฐศาสตร์และ

                   การเมือง ส่วนการศึกษาการอาชีพมีสมาคมพ่อค้าเป็นผู้สนับสนุน มีการใช้ภาษาสันสกฤตในการ
                   เรียนการสอนในสำนักต่างๆ ในขณะเดียวกันภาษาปรากฤตซึ่งเป็นภาษาถิ่นก็เริ่มมีความสำคัญ
                   เพราะภาษาสันสกฤตเป็นภาษาวรรณคดีและภาษาของชนชั้นสูง แต่ภาษาปรากฤตเป็นภาษา

                                 20
                   ของคนส่วนใหญ่


                          3.  เศรษฐกิจและการค้า
                          ในยุคนี้ประชาชนยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันเป็นส่วนใหญ่ การเลี้ยงสัตว์นั้นเลี้ยง
                   เพื่อการบริโภคและใช้งาน อย่างไรก็ตาม จากคัมภีร์อรรถศาสตร์ทำให้ทราบว่า นอกจากอาชีพ

                   เกษตรกรรมแล้ว ประชาชนยังประกอบอาชีพอื่นๆอีก เช่น การทำเหมืองแร่ การหล่อโลหะ การ
                   ทำป่าไม้ การทอผ้า การต่อเรือ ฯลฯ การค้าขายเป็นอาชีพที่สำคัญและได้รับการส่งเสริมเป็น




                          18  คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2537). อารยธรรมสมัยโบราณ-สมัยกลาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ ์
                   มหาวิทยาลัย, หน้า 88.
                          19  เฉลิม พงศ์อาจารย์และคณะ. (2529). ประวัติศาสตร์อินเดีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ, หน้า 74-75.
                          20  ภาษาบาลีเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธ ศาสนานิกายเถรวาท ไม่มีอักษรของ
                   ตนเองโดยเฉพาะ
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103