Page 96 - 006
P. 96
85
ื่
พระเจ้าอโศกยังทรงจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้น เพอสั่งสอนศีลธรรมจรรยาแก่ราษฎร
ของพระองค์ ทรงเน้นหลักมนุษยธรรมในการปกครอง และใช้ศีลธรรมเป็นหลักในการจัด
ระเบียบและควบคุมสังคม ตลอดจนการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพในจักรวรรดิ ทรงบริหาร
ประเทศด้วยความเมตตากรุณา โดยพระองค์ประกาศว่ามนุษย์ทุกคนเป็นบุตรของพระองค์ ทรง
เน้นความยุติธรรมและความรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่ และยังโปรดให้มีการบริการ
ั
สาธารณประโยชน์แก่สังคม เช่น การสร้างถนน บ่อน้ำ ที่พกสำหรับคนเดินทาง สร้าง
โรงพยาบาล เป็นต้น
อย่างไรก็ดี แม้ว่าพระเจ้าอโศกจะทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง แต่ความ
ปรารถนาที่จะแผ่ขยายจักรวรรดิยังคงมีอยู่ พระองค์จึงทรงดัดแปลงให้เข้ากับหลักมนุษยธรรม
ิ
ของพุทธศาสนา โดยทรงใช้นโยบายการพชิตด้วยธรรมะแทนการแผ่ขยายอาณาเขตด้วยการทำ
สงคราม ทรงถือว่าชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ชัยชนะแห่งธรรม จักรวรรดิโมริยะจึงขยายออกไป
อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะทางใต้ซึ่งเป็นดินแดนที่ยากต่อการขยายอำนาจ
ในด้านการปกครอง พระเจ้าอโศกทรงใช้นโยบายโยงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมากกว่าการ
ื่
กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมเพออำนวยความสะดวกในการ
ติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนต่างๆของจักรวรรดิ ทรงจัดตั้งข้าราชการชุดที่เรียกว่า ธรรมะ-มหา
ุ
มาตย์ (dharma-mahamatras) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้มีความรู้ด้านหลักธรรมคำสอนในพทธ
ศาสนาทุกนิกายที่เจริญอยู่ในขณะนั้น ข้าราชการชุดนี้มีหน้าที่โดยตรงในการนำธรรมะไปเผยแผ่
และปลูกฝังให้ประชาชนในราชอาณาจักรของพระองค์ รวมไปถึงการทำหน้าที่ในการสอดส่อง
ดูแลความประพฤติของราษฎรให้ประพฤติปฏิบัติตามธรรมที่พระองค์ทรงปลูกฝังอีกด้วย
16
ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช จักรวรรดิโมริยะของพระองค์เติบโต ยิ่งใหญ่และมี
ความเจริญรุ่งเรืองในหลายๆด้าน แต่เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงเมื่อปี 232 ปีก่อนคริสตกาล
จักรวรรดิโมริยะก็เริ่มแตกแยก แว่นแคว้นต่างๆที่เคยขึ้นกับจักรวรรดิก็แยกตัวเป็นอิสระ ผู้สืบ
ราชวงศ์ต่อมาไม่มีผู้ใดที่มีความสามารถเทียบเท่ากับพระองค์ จักรวรรดิโมริยะจึงค่อยๆเสื่อม
สลายลงไปในที่สุด
ลักษณะการปกครอง สังคม การศึกษา และเศรษฐกิจสมัยราชวงศ์โมริยะ
เรื่องราวความเจริญของราชวงศ์โมริยะได้มาจากหลักฐานที่สำคัญ ได้แก่ บันทึกของเม
กาเทเนส ราชทูตกรีกประจำราชสำนักของพระเจ้าจันทรคุปต์ ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก และ
คัมภีร์อรรถศาสตร์ ซึ่งเขียนโดยพราหมณ์เกาฏิลยะ ที่ปรึกษาคนสำคัญของพระเจ้าจันทรคุปต์
1. การปกครอง กษัตริย์ทรงรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทรงจัดให้มีสภาเสนาบดี (The
council of ministers) ซึ่งประกอบไปด้วยข้าราชการระดับสูงสุด ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการที่
สำคัญจำนวน 3-12 คน และสภาแห่งรัฐ (state council) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนประมาณ
16 สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณและศุภวรรณ ชวรัตนวงศ. อินเดีย : อดีต-ปัจจุบัน, หน้า78.
์